-- advertisement --

รอบรั้วการศึกษา I เด็กกับเทคโนโลยี..ความพอดีอยู่ที่ไหน

ระดมสมอง เปิดมุมมอง พัฒนา”เด็กไทย” กับการใช้ “เทคโนโลยี”

หมายเหตุ :งานสัมมนาวิชาการ OKMD BBL Symposium: Inspire You Brain, Inspire Your Futureจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่เรียนรู้และแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างนักคิดจากหลากหลายสาขา ในงานนี้ได้มีการเปิดเวทีเสวนาที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การเสวนาในหัวข้อ “เด็กกับเทคโนโลยี ความพอดีอยู่ที่ไหน” มีนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.ปิยวลี ธนเศรษฐกร ผู้อำนวยการสถาบัน101เอ็ดดูแคร์ เซ็นเตอร์ และธนัญกรณ์ จิรพัฒน์คุณากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานทรูปลูกปัญญา มีเดีย

ดร.ปิยวลี ได้มองถึงประโยชน์ในเชิงบวก ว่าเทคโนโลยีทำให้ตื่นเต้น ดึงความสนใจ ช่วยให้สะดวกสบาย แต่พอใช้ไปสักพักก็เริ่มคุ้นชิน สุดท้ายก็ต้องอยู่ที่เนื้อหาสำคัญอยู่ดี

“ข้อมูลด้านสมองชี้ว่าในสมองนั้นมีกระบวนการที่เรียกว่าไซน์แนบพรุนนิ่ง ถ้าสมองส่วนไหนไม่ได้ใช้งาน ก็จะถูกตัดทิ้งทำลายไป ศักยภาพส่วนนั้นจะลดลง ตรงนี้ทำให้เราต้องระวังการใช้ของเด็ก และให้เด็กใช้อย่างเท่าทัน และเกิดประโยชน์ เพราะหากใช้ไม่เหมาะสม หรือให้เด็กใช้เร็วเกินไป เด็กจะมีแนวโน้มเป็นสมาธิสั้นได้สูง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง การตอบสนองแบบทันทีทันใจ ทำให้เด็กรอไม่เป็น สมองคุ้นชินกับการได้รับการตอบสนองทันที ส่งผลให้โมโหร้าย รอไม่เป็น ลุกลี้ลุกลน สมองชินกับ speed เร็ว ไม่ได้มาประมวลความคิด จะหยุดคิดเมื่อหลับ แล้วมักจะทำสิ่งต่างๆ ตามอัตโนมัติจากความคุ้นชิน…อายุที่เริ่มใช้เทคโนโลยี(สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ทีวี) มีคำแนะนำให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยี เพราะอยู่ในช่วงที่สมองกับกำลังสร้างโครงสร้าง ส่วนเด็กอายุ 2 ปี ถ้าจะใช้ผู้ปกครองต้องอยู่ด้วย”

สำหรับในประเด็นที่ว่าด้วยการเตรียมตัวให้เด็กพร้อมทำงานในอนาคต นั้น ดร.วรวรงค์ มองว่า เทคโนโลยีช่วยในการเรียนรู้ให้สะดวกมากขึ้น สิ่งที่ท้าทายในปัจจุบันคือมีการพัฒนาทั้ง hardware และsoftware

“มีการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยี เช่น grab/uber/air b&bซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ ไม่ต้องลงทุนเรื่องของ สถานที่ แต่ setระบบบริการ กินมาร์เก็ตแชร์ในตลาดได้สูง นอกจากนั้น IBM ยังมีการคิดค้นระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่สามารถตัดสินใจ ประมวลจากข้อมูลที่มี ซึ่งมีการมองว่าจะส่งผลต่ออาชีพทนายความ และแพทย์ในอนาคตอันใกล้ นอกจากนั้นยังเรื่องการทำ Big Data /การเก็บข้อมูลมหาศาลและอำนวยความสะดวก ต่างๆ อีกมากมาย ความท้าทายอยู่ที่การจะเลือกใช้ข้อมูล เพราะข้อมูลมีมากมาย หลากหลายมาก ต้องรู้จักเลือกใช้ เลือกเชื่อ เลือกฟัง เด็กยังมีข้อมูลความรู้ไม่มาก ก็ทำให้เชื่อง่าย

ในเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยี Motivationจูงใจให้อยากเรียนรู้ได้ดี สื่อการเรียนรู้ต้องทำให้เด็กอยากที่จะดู พอได้ลองได้ทำ ก็จะเรียนรู้ อยากลองสร้างความมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น

สิ่งที่เทคโนโลยีทำไม่ได้คือ Feed back จากคนดูคนใช้งาน เพื่อการพัฒนา ปัจจุบันเด็กขาดการวิเคราะห์ แล้วปัจจุบันมีการคิดระบบเหล่านี้ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ มีการทำนายว่าอนาคตหลายๆ อาชีพจะหายไป สมาร์ทโฟนราคาถูกลงเรื่อยๆ ทุกคนเข้าถึง จำopen softwareซึ่งส่งผลกระทบหมดทุกอย่างไนโลกออนไลน์ แต่ที่ยังทดแทนไม่ได้คือ “คน” ยังต้องพบปะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และคนไทยไม่ชอบคิดวิเคราะห์ มักชอบให้คนมาฟันธงให้

ขณะที่ ดร.ปิยวลี มีความเห็นว่า จะเริ่มเมื่อใดต้องอยู่ที่การเตรียมความพร้อมให้ลูก จะบอกกับหลานเวลาใช้ สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ตว่าหนูถือมีดอยู่นะ มันมีอันตรายอยู่ ให้นึกว่าเป็นมีดที่ทำให้บาดเจ็บได้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

“เด็กๆ ต้องเรียนรู้เชิงสังคม มีการทดลองกับหนู ที่สะท้อนการเรียนรู้ของสมอง จะเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันสำคัญมาก ทำให้เกิดการเชื่อมต่อในสมอง “ปฏิสัมพันธ์+การลงมือปฏิบัติ = การเรียนรู้ของสมอง” ต้องเลือกว่า จริง-ไม่จริง/มีประโยชน์-ไร้ประโยชน์ ต้องเตรียมความพร้อมให้เขา เพื่อให้ใช้เทคโนโนโลยีอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด”

นอกจากนี้ประเด็นเรื่องของการเล่นเกม สำหรับเด็กๆ นั้น “ธนัญกรณ์” มองว่า หลายๆ เกมทำให้เด็กฝึกคิด มองภาพใหญ่ได้ ตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ได้ เกมจึงมีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าจะใช้ให้มีประโยชน์ก็อาจใช้วิธี คือ 1.เลือก app/ game education เด็กๆ ชอบทำข้อสอบออนไลน์ เด็กชอบใช้สมาร์ทโฟน ก็น่าจะนำสิ่งนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เลยเอาตารางธาตุมาทำเป็นเกม ก็เกิดประโยชน์ เกมการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนก็น่าจะเหมาะกับเด็กโต มากกว่าเด็กเล็ก
ส่วนเรื่องการควบคุมเรื่องความปลอดภัย ใช้ password ล็อคเครื่อง และไม่ที่บอกให้ลูกรู้
เรียกว่าพ่อแม่ต้องเท่าทันเทคโนโลยี

-- advertisement --