Website Sponsored

“กสศ. “มอบทุนเสมอภาค 20 ล้าน ให้แก่”นร.ตชด. อนุบาล-ม.6” กว่า 10,000 คน เริ่มภาคเรียนที่ 1/2562 นี้

Website Sponsored
Website Sponsored

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า ในช่วงเดือน กค.-สค. ที่ผ่านมาคุณครูสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกว่า 2,196 คนได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน นร.ตชด. เพื่อบันทึกข้อมูลมาสนับสนุนการคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้วยวิธีวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test: PMT) การเดินทางเยี่ยมบ้านของครู ตชด. นี้ถือเป็นหนึ่งในการเดินทางที่ยากลำบากที่สุด เพราะสภาพเส้นทางระหว่างโรงเรียน และบ้านของเด็ก นร.ตชด. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงที่มีความทุรกันดาร โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนนี้ แต่ครู ตชด. ทุกคนก็มีความมุ่งมั่นและสามารถเก็บข้อมูลนักเรียนเข้ามาได้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ล่าสุดมีนักเรียนยากจนพิเศษในโรงเรียนสังกัดบก.ตชด. ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษาแล้วราว 10,000 คน

ทั้งหมดนี้จะได้รับการจัดสรรทุนเสมอภาคจาก กสศ.ซึ่งประกอบด้วยเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานเพื่อนักเรียนยากจนที่นักเรียนกลุ่มนี้ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนมาก่อนจำนวน 500 บาท สำหรับเด็กอนุบาล-ประถมศึกษา และ 1,500 บาท สำหรับเด็กมัธยมศึกษาต่อเทอม และเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขอีกจำนวน 1,000 บาทต่อเทอม รวมแล้ว นร.ตชด. จะได้รับทุนเสมอภาคคนละ 1,500-2,500 บาทต่อคนต่อเทอม ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา เพื่อใช้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัวในรายการสำคัญ เช่น ค่าหนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน ค่าอาหาร ค่าครองชีพ ค่าพาหนะในการเดินทาง หรือจ้างเหมารถรับ-ส่งนักเรียน รวมทั้งกิจกรรมสร้างเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในโรงเรียน เป็นต้น โดย กสศ. ได้เตรียมงบประมาณไว้ราว 20 ล้านบาทเพื่อ นร.ตชด. ในภาคเรียนที่ 1/2562 นี้

ดร.ไกรยส กล่าวว่า กสศ.และคณะวิจัย ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโรงเรียนสังกัด บก.ตชด. พบว่านักเรียนในโรงเรียนสังกัด ตชด. ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนพิเศษ ครัวเรือนมีรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาลและหลายครอบครัวได้รับเพียงค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำหรือน้อยกว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่อายุไม่ตรงตามเกณฑ์เนื่องจากครอบครัวโยกย้ายถิ่นฐานบ่อย ตามแหล่งการจ้างงานของผู้ปกครอง นักเรียนบางส่วนขาดเรียนบ่อยเพื่อไปช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพหารายได้ บางครอบครัวนักเรียนที่เป็นพี่น้องก็สลับกันมาโรงเรียน

ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ทาง กสศ. และ บก.ตชด. ได้ร่วมกันสนับสนุมาตรการสร้างเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืนผ่านการส่งเสริมการเยี่ยมบ้านเพื่อให้ครูได้รู้จักสภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กและครอบครัวอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ครูและโรงเรียนนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั้งในมิติโอกาส และมิติคุณภาพให้แก่เด็กได้เป็นรายบุคคลอย่างยั่งยืน การที่ครูตชด.ลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้าน พบสภาพความเป็นอยู่จริง เป็นกระบวนการที่ทำให้ครูได้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจปัญหาของเด็กแต่ละคนมากขึ้น ความเข้าใจนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนการสอน ซึ่งมีงานวิจัยระบุว่าถ้าครูมีความเข้าใจเด็กมากขึ้นเท่าใด คุณภาพการเรียนการสอนก็จะดีขึ้นเท่านั้น เพราะครูจะสามารถสอนเด็กได้เป็นรายบุคคล อย่างเต็มศักยภาพ โดยโรงเรียนสามารถใช้งบประมาณจากทุนเสมอภาคในการสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น

ด.ต.หญิง วิไล ธนวิภาศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยสลุง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) อ.แม่ระมาด จ.ตาก กล่าวว่า โรงเรียนบ้านห้วยสลุงมีนักเรียนคละชั้น ประมาณ 80 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ หลายคนมีความต้องการเร่งด่วนเรื่องการจัดการศึกษา ดูแลความเป็นอยู่ด้านคุณภาพชีวิต สุขอนามัย รวมถึงความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์การศึกษา ประสบปัญหาด้านระยะทาง และการเดินทางในพื้นที่กันดาร เด็กบ้านใกล้ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเดินเท้า บางส่วนที่ไกลออกไปต้องใช้บริการรถรับส่งรายเดือนซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 250-300 บาท ขณะที่เด็กซึ่งมาจากหมู่บ้านห่างออกไปประมาณ 50-60 กิโลเมตรในพื้นที่ดอยสูง หรือบ้านใกล้แต่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทางโรงเรียนจัดอาคารพักนอนให้

นักเรียนของที่นี่อยากมาโรงเรียนทุกวัน เพราะโรงเรียนเป็นเสมือน “บ้านหลังที่สอง”เป็นที่พึ่งพิง ไม่เพียงแต่จะฝากอนาคตไว้เท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นพื้นที่ที่เห็นความสำคัญของวัยเด็ก ซึ่งบางแง่มุม บ้านของพวกเขาอาจจะมอบให้ไม่ได้ เด็กบางคนเมื่ออยู่บ้านจะกลายเป็นกำลังแรงงานหลักของบ้าน ต้องทำงานบ้านหรือต้องไปใช้แรงรับจ้างเก็บผลผลิตทางการเกษตร เด็กบ้านไกลทุกคน จะบอกเหมือนๆ กันว่า มื้ออาหาร และที่พักอาศัย ที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้รับนั้นอยู่ที่โรงเรียน เพราะเมื่อกลับบ้านแต่ละมื้อจะได้กินเพียงแค่ข้าวกับน้ำพริกและผักที่เก็บได้จากรอบๆ บ้านหรือละแวกใกล้เคียงเท่านั้น บ้านพักนักเรียนบางคนไม่มีฝาบ้านหรือเป็นเพียงเพิงพักชั่วคราวเท่านั้น โรงเรียนจึงกลายเป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่พวกเขาฝากทั้งชีวิตและปากท้องไว้ในทุกๆ วัน” ครูใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยสลุง กล่าว

ทั้งนี้ หากประชาชนหรือภาคเอกชนใดสนใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษในโรงเรียนสังกัด บก.ตชด. เหล่านี้ สามารถบริจาค สมทบเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2 079-5475

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

รมว.ศธ.และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มอบนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” วันที่ 26 เมษายน 2567 พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และโรงเรียนวัดศรีดอนชัย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา…

สพม.ลำปาง ลำพูน ขับเคลื่อนสถานีแก้หนี้ครู สพฐ ประจำเดือนเมษายน 2567           วันที่ 26 เมษายน 2567 นางนภาพร พงษ์ขัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มอบหมายให้ นางนฤมล พันลุตัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูนนำคณะทีมบริหารที่รับผิดชอบสถานีแก้หนี้เข้าร่วมรับฟัง…

🚩วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น.นายกัมปนาท ศรีเชื้อ ผอ.สพป.เลย เขต 3 เป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2566และเตรียมแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2567 ของกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาผู้เข้าประชุมประกอบด้วย นางญาณิศา…