Website Sponsored

“ม.วลัยลักษณ์” MOU 3 สถาบันดังการแพทย์จีน แลกเปลี่ยนนศ.-พัฒนางานวิจัย

Website Sponsored
Website Sponsored

รศ.ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนพร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ม.วลัยลักษณ์ ได้เดินทางร่วมประชุมวิชาการ ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง “สมาพันธ์การศึกษาและการบริการทางการแพทย์แห่งเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้” The South and Southeast Asia Medical Education and Service Alliance (SSAMESA) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรก ณ Kunming Medical University (KMU) เมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน มัลดีฟส์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เข้าร่วม มีประเทศจีนเป็นศูนย์กลาง เพื่อหารือและพัฒนาความร่วมมือด้านการแพทย์และบริการสาธารณสุขระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รศ.ดร.สุรินทร์กล่าวว่า นอกจากนี้ ม.วลัยลักษณ์ยังได้เดินทางไปยัง Kunming Medical University (KMU) เพื่อลงนามต่ออายุ MOU ทางการแพทย์กับมหาวิทยาลัย จากเดิมที่ร่วมมือเฉพาะสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้ขยายครอบคลุมไปยังสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์และวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติด้วย โดยข้อตกลงดังกล่าวนักศึกษาไทยจะได้เดินทางไปเรียนรู้ศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ของจีน ส่วนของนักศึกษาจีนจาก KMU จะได้มาเรียนรู้วงการแพทย์ของไทย ซึ่งจะช่วยเติมเต็มประสบการณ์ด้านการแพทย์และสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษา

นอกจากนี้ คณะผู้บริหารยังได้เดินทางไปยัง Yunnan Normal University เพื่อหารือแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรภาษาจีนศึกษา ของสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ในรูปแบบ 3 +1 คือนักศึกษาจะได้เรียนภาษาจีนตั้งแต่ปี 1-3 โดยอาจารย์ไทยและจีนของ ม.วลัยลักษณ์ ก่อนจะเดินทางไปเรียนที่จีน ในมหาวิทยาลัย Yunnan Normal University และสหกิจศึกษาในสถานประกอบการในประเทศจีน 1 ปี และทาง Yunan Normal University จะส่งนักศึกษาจีนมาเรียนภาษาไทยที่ ม.วลัยลักษณ์ ปีละ 30 คน

อีกทั้งยังขยายความร่วมมือด้านการวิจัยไปยังสถาบันการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของมณฑลยูนนาน หรือ Yunnan Academy of Social Sciences ในการสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยของคณาจารย์ด้านสังคมศาสตร์ ของ ม.วลัยลักษณ์กับสถาบันแห่งนี้อีกด้วย

“ทั้งหมดนี้คือการให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา ด้วยการพัฒนาด้านวิชาการไปยังนานาประเทศในทุกมิติ เพื่อตอกย้ำความพร้อมของม.วลัยลักษณ์ในการก้าวสู่ความเป็นสากล” รศ.ดร.สุรินทร์ กล่าว

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

J

ให้โอกาสการศึกษา! "ทวี" มอบนโยบาย พัฒนาเรือนจำ-ทัณฑสถาน พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องราชทัณฑ์  ข่าวสด

J

ทฤษฎีกบในหม้อต้ม ปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย  ประชาชาติธุรกิจ

ศธ.จีนชี้การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา 'จีน-ฝรั่งเศส' เติบโต

× กรุณาติดต่อทีมงานเพื่อดาวน์โหลดคลิป (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษาชาวฝรั่งเศสนั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อันฮุยในเมืองเหอเฝย มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน วันที่ 23 ม.ค. 2024) ปักกิ่ง, 4 พ.ค. (ซินหัว) — กระทรวงศึกษาธิการของจีนรายงานว่าปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษาชาวจีนเล่าเรียนอยู่ในฝรั่งเศสมากกว่า 46,000 คน ขณะเดียวกันมีนักเรียนนักศึกษาชาวฝรั่งเศสเล่าเรียนอยู่ในจีนมากกว่า 1,500…