Website Sponsored

กมธ.ต่างประเทศลงพื้นที่หนองคาย ศึกษาผลกระทบรถไฟจีน-ลาว อัดรัฐล่าช้าทำเสียโอกาส

Website Sponsored
Website Sponsored

กมธ.ต่างประเทศ ลงพื้นที่หนองคาย ศึกษาผลกระทบรถไฟจีน-ลาว อัดรัฐล่าช้าทำไทยเสียโอกาส จี้เร่งสร้างสถานีรองรับในหนองคาย พร้อมเจรจาจีนดึงโอกาสกลับไทย

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

วันที่ 17 มี.ค.65 คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายศราวุธ เพชรพนมพร ประธานกรรมาธิการฯ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม โฆษกกรรมาธิการฯ และประธานอนุกรรมาธิการ นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ กรรมาธิการ น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ เลขานุการฯ นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ รองประธานอนุกรรมาธิการ นายพงษ์ศักดิ์ พิบูลย์ศักดิ์ อนุกรรมาธิการ นายวิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ น.ส.ชญาภา สินธุไพร ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ ลงพื้นที่ จ.หนองคาย

เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวของไทยกรณีการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าจีน-ลาว พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมด้วยภาคเอกชน จากการศึกษาเบื้องต้น คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ารัฐสามารถเตรียมความพร้อมประเทศได้มากกว่านี้

นายศราวุธ กล่าวว่า โจทย์ของคณะกรรมาธิการฯ คือการมารับฟังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อนำผลการศึกษาเสนอต่อ ครม.ให้ไปปรับปรุงมาตรการรองรับอย่างเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าจีน-ลาวได้สร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของไทยเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย จากเดิมที่คาดว่าน่าจะสร้างเสร็จในปี 2571 ดูจะล่าช้ากว่ากำหนด และยังไม่ได้มีการเตรียมการใดๆ รองรับการขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากรถไฟฟ้าจีน-ลาวเลย ห่วงว่าประเทศและผู้ประกอบการไทยจะเสียเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนทางโอกาสที่สำคัญ

ด้านนายจักรพล กล่าวว่า จากการรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้สินค้าไทยที่ส่งออกไปจีนกำลังถูกกีดกันด้วยมาตรการซีโร่โควิดของรัฐบาลจีน โดยจีนสร้างด่านโม่หานเป็นด่านตรวจโควิดด่านแรก เพื่อตรวจสินค้าที่จะเข้าประเทศ หากรัฐบาลไทยจะเจรจาขอความร่วมมือจากทางจีนในการให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการตรวจสินค้าแก่ผู้ประกอบไทย รวมถึงอาจจัดตั้งศูนย์ตรวจพร้อมส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสินค้าในประเทศไทย นำกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศมาใช้ สร้างระเบียงเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ก็จะสามารถลดความเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกที่สินค้าถูกตีกลับเป็นจำนวนมาก

ที่ผ่านมาความตกลงว่าด้วยพิธีสาร 13 ก.ย.64 กับจีนได้มีการลงนามตกลงแล้ว แต่การส่งออกไม่สามารถเริ่มได้เพราะมาตรการโควิดของจีนที่เคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างผลไม้ไทยมูลค่าสูงเป็นที่นิยมและต้องการของตลาดจีนมาก ทั้งนี้ ทางคณะฯ จะนำทุกข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากทุกภาคส่วนไปหารือ และหาทางออกเพื่อที่จะชดเชยโอกาสที่เสียไปของโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวอีสานและประเทศไทย

ขณะที่ นายจุลพันธุ์ กล่าวว่า ไทยควรจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงใช้ตั้งแต่ปี 2563 ตามโครงการสร้างอนาคตไทย 2020 ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ แต่สุดท้ายต้องหยุดชะงักไป ทั้งนี้ คณะฯ ติดตามดูความคืบหน้าจริงของรถไฟฟ้าจีน-ลาว ใน 4 เดือนที่ผ่านมา มีผู้โดยสารกว่า 1.8 ล้านคน สินค้าขนส่งไปแล้ว 1.2 ล้านตัน นี่คือโอกาสที่ประเทศไทยสูญเสียไปในช่วงที่ผ่านมา

การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวทางดึงโอกาสกลับมาให้ประเทศไทยอย่างไรให้เร็วที่สุด เพราะไทยกำลังถูกจีนเจาะตลาดผ่านทางเส้นทางคมนาคมเส้นใหม่นี้ โดยสินค้าที่นำเข้ามาในไทยเป็นอันดับหนึ่ง กลับเป็นพืชผักผลไม้ที่เข้ามาตีตลาดไทยโดยเฉพาะ แต่หากเรามองวิกฤตให้เป็นโอกาส รัฐต้องเร่งเจรจานำสินค้าไทยกลับเข้าไปสู่ตลาดจีน เพราะรถไฟที่ขนสินค้ามาจากจีน คงไม่ประสงค์จะตีกลับเป็นรถไฟเปล่าอย่างแน่นอน

ด้านนายกฤษฎา กล่าวว่า ช่วงปี 2556 เคยมีการสำรวจเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย และระบบรางระหว่างไทย-ลาว-จีน และ ไทย-จีน-เวียดนาม เพื่อประสานความร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาค ส่งเสริมให้ จ.หนองคาย เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รองรับการเชื่อมโยงรถไฟทางคู่กับต่างประเทศ

หนองคายควรจะเป็นประตูมังกรเชื่อมไทยสู่ตลาดโลก สร้างโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรและธุรกิจ SME และเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมเส้นทางไทย-ลาว-จีน แต่วันนี้ด้วยความไม่พร้อมและความไม่เข้าใจ ทำให้หลายๆ อย่างล่าช้าไปหมด เรากำลังสูญเสียโอกาสมหาศาล กลับกันหากวันนี้รัฐเริ่มสร้างสถานีรถไฟจากหนองคาย ย้อนกลับขึ้นไปกรุงเทพฯ น่าจะสามารถปรับให้ทันต่อผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้น ณ เมืองหน้าด่านในขณะนี้ได้

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

เว็บไซต์รัฐบาลไทย

วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.45 น. ที่บริเวณห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กทม. นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) เป็นประธานพิธีเปิดงาน Kick…

'สพฐ.' จับมือ 'มูลนิธิยุวพัฒน์' ขยายผลกลไก 'ร้อยพลังการศึกษา' ลดเหลื่อมล้ำช่วยเด็กไทยรอบด้าน | ประชาไท Prachatai.com

ปรากฏการณ์ใหม่วงการศึกษาไทย ! เมื่อกลไกภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) กับกลไกภาคประชาชนโดยมูลนิธิยุวพัฒน์เพื่อขยายผล 9 เครื่องมือภายใต้ “โครงการร้อยพลังการศึกษา” นำร่องปีแรกกับกว่า 500 โรงเรียน และจะขยายผลต่อเนื่องต่อไป เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้เมื่อเร็วๆ นี้ มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) โครงการร้อยพลังการศึกษา…

มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์-เครือข่าย มอบทุนสานฝันการศึกษา | ์

์ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2024 มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์-เครือข่าย มอบทุนสานฝันการศึกษา มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ร่วมกับ มูลนิธิยังมีเรา สถานีท็อปนิวส์ และไทย สมายล์ กรุ๊ป มอบทุนสานฝันการศึกษาเด็กไทย จ.สมุทรสงคราม มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์-เครือข่าย มอบทุนสานฝันการศึกษา มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ร่วมกับ…