Website Sponsored

งานวิจัยต่อยอดข้ามชาติ “มจธ.”-”ม.คานาซาวา” “เครื่องวัดมวลกระดูกพกพา”

Website Sponsored
Website Sponsored

คอลัมน์ “ด้วยสมองและสองมือ”

ปัจจุบันมีกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยง อาจจะยังไม่เคยได้รับการตรวจวัดค่ามวลกระดูก และในไทยเครื่องวัดมวลกระดูกมีเฉพาะในบางโรงพยาบาลเท่านั้น

ดังนั้น เครื่องวัดมวลกระดูกแบบพกพาที่ผลิตขึ้นใหม่นี้จะเน้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องวัดมวลกระดูกที่โรงพยาบาลบ่อยๆ เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกระดูก ทำให้ผู้ป่วยสามารถวัดได้ด้วยตัวเอง เพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล นอกจากนั้นแล้ว ยังมีราคาไม่สูง มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด (SMART LAB) และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมมือกับ ศ.ดร. ชิเกโอะ ทานากะ มหาวิทยาลัยคานาซาวา (Kanazawa University) โดยกล่าวว่า ทางห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาดได้ร่วมมือกับม. คานาซาวา มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเครื่องวัดมวลกระดูกแบบพกพา ได้พัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยเดิมเกี่ยวกับนวัตกรรมการเพิ่มจำนวนเซลล์กระดูกที่งานวิจัยนี้สำเร็จแล้ว และใช้เวลาวิจัยกว่า 2 ปี

เครื่องมือวัดมวลกระดูกแบบพกพา สามารถตรวจได้สะดวก รวดเร็ว โดยฉายแสงแอลอีดีที่ข้อมือผู้ป่วย ในขณะที่เครื่องแบบขนาดใหญ่ตามโรงพยาบาลที่วัดมวลกระดูกเพื่อตรวจโรคกระดูกพรุนผู้ป่วยต้องนอนหรือนั่งลักษณะการทำงานเป็นการ X-ray เพื่อสแกนค่าการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density (BMD) อีกทั้งเครื่องมือยังมีเพียงบางโรงพยาบาลเท่านั้น

หลักการของเครื่องมือวัดมวลกระดูกแบบพกพานี้ ใช้หลักการของแสงแอลอีดีที่มีความยาวคลื่นเฉพาะที่มีปฎิกิริยากับแคลเซียม 2 ความยาวคลื่นเพื่อเปรียบเทียบค่า ร่วมกับเครื่องมือไดโอดที่วัดค่าความเข้มแสงที่สะท้อนหรือกระเจิงกลับ เพื่อทำให้ทราบค่าแสงที่ถูกดูดกลืนในกระดูก โดยจะต้องนำค่าแสงที่ได้ไปคำนวณเป็นค่าความหนาแน่นของกระดูกว่ามีปริมาณแคลเซียมจำนวนเท่าใด โดยได้ทดสอบความแม่นยำของเครื่องวัดมวลกระดูกแบบพกพานี้ กับเครื่องมือวัดมาตรฐานของโรงพยาบาลแบบ DEXA scan

มร.คานาเมะ มิอูระ นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศญี่ปุ่น นักศึกษาปริญญาเอกทุนเพชรพระจอมเกล้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ต่อยอดโดยพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือวัดมวลกระดูก โดยใส่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และนำไปทดสอบกับผู้ป่วยจริงที่ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 500 คน เพื่อเก็บข้อมูล

ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้กว่า 200 คน โดยจะเปรียบเทียบข้อมูลเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องวัดมวลกระดูกที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล

แนวโน้มราคาเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ราคาเพียงหลักหมื่น ดร.ทานากะ จึงได้จัดตั้งบริษัทสตาร์ทอัพจดทะเบียนในชื่อบริษัท “ostics” เพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องมือวัดมวลกระดูกที่พัฒนาขึ้น และเป็นบริษัทสตาร์ทอัพแห่งแรกของมหาวิทยาลัยคานาซาวาด้วย โดยมีแผนจะจดทะเบียนในไทยร่วมกับ มจธ. และสร้างตลาดในไทยก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มากกว่า

ตั้งเป้าภายในปีนี้ออกผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่สามารถวัดมวลกระดูกจากกระดูกข้อมือ และวางแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นอื่นๆ ที่สามารถวัดมวลกระดูกจากบริเวณอื่นได้

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

สกร.หารือ สกมช. ร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ความปลอดภัยไซเบอร์ สู่ ปชช.

3 พฤษภาคม 2567 20:09 น. สยามรัฐออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมสุนทร  สุนันท์ชัย ชั้น 4 กรมส่งเสริมการเรียนรู้ นายธนากร  ดอนเหนือ  อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประชุมหารือร่วมกับ…

“ถ้าไม่ได้ทุน ก็คงไม่ได้เรียนต่อ” กสศ.มอบทุนผู้ช่วยพยาบาลฯ ม.นราธิวาส เพื่อตัดวงจร ‘ความยากจน’ จากรุ่นสู่รุ่น

เมื่อวันที่ 20-21 เมษายน ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หรือ กองทุนที่มุ่งสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ด้วยการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์  ได้ทำการลงพื้นที่ที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อไปพูดคุยกับตัวแทนผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาของ กสศ.ในหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนที่พวกเขาจะเข้ารับประกาศนียบัตรจบการศึกษา The MATTER จึงมีโอกาสได้พูดคุยกับทั้งตัวแทนผู้ที่ได้รับทุน รวมถึงครอบครัวของพวกเขาถึงความรู้สึกหลังจบการศึกษา และความยากลำบากก่อนที่จะได้รับทุนจาก…

หลวงพี่น้ำฝนพร้อมรับดูแลน้องเสียงแคน พร้อมส่งเรียนผลักดันเป็นศิลปินส่วนพ่อต้องมาคุยกัน

หลวงพี่น้ำฝน รับทราบเรื่องน้องเสียงแคนจากกัน จอมพลัง บอกพร้อมรับมาดูแลส่งเสียให้เรียนพร้อมผลักดันด้านดนตรีให้เป็นศิลปินในอนาคตได้ ส่วนพ่อประสบปัญหาด้านการเงินต้องแยกประเด็นตอนนี้ เราต้องช่วยปัญหาของเด็กก่อน หากพ่อลูกพร้อมมีที่อยู่ในวัดส่งเสริมการศึกษาและผลักดันด้านดนตรีอย่างมีระบบ แต่ต้องมีการเข้ามาหารือกันอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง สำหรับการช่วยเหลือ วันที่ 2 พฤษภาคม 67 จากกรณีผู้ใช้สื่อโซเชียล Tiktok มีการโพสต์คลิป น้องเสียงแคน ใส่ชุดนักเรียนนั่งเล่นเปียโน อยู่ในตลาดนัดในย่านรามอินทรา โดยมีความสะเทือนใจสำหรับผู้ที่พบป้ายข้อความ…