Website Sponsored

“ด้วยสมองและสองมือ”/หัวเชื้อ ”จุลินทรีย์นาโน” ลดต้นทุนปลูก”ผักออร์แกนิกส์”กรอบ-วิตามินสูง-เก็บได้นาน

Website Sponsored
Website Sponsored

มีงานวิจัย-โครงการมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี

ล่าสุด คิดค้นงานวิจัยจุลินทรีย์นาโน ลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผักออร์แกนิกส์

ผศ.ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ สาขาวิชาชีววิทยา นักวิจัยและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า ด้วยเห็นว่าต้นทุนปลูกผักสลัดแบบไร้ดิน สูงถึง 4,700 บาทต่อครั้ง ดังนั้น จึงได้คิดค้นงานวิจัยจุลินทรีย์นาโนขึ้นมา เพื่อช่วยลดต้นทุน

มีการนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่คัดแยกได้จากธรรมชาติ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย กลุ่มจุลินทรีย์ชักนำการเติบโต กลุ่มจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายฟอสฟอรัสโพแทสเซียม กลุ่มจุลินทรีย์ควบคุมโรค และกลุ่มจุลินทรีย์ปรับปรุงดิน นำมาผลิตในระดับอุตสาหกรรม

ผสมผสานด้วยเทคโนโลยีชีวิภาพ เทคโนโลยีคีเลต เทคโนโลยีเอ็นแค็ปซูล ทำให้ได้นวัตกรรมหัวจุลินทรีย์นาโน ภายใต้เครื่องหมายการค้าTHAN ที่ได้รับมาตรฐานไอเอฟโอเอเอ็ม (IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements)

จากการทดลองโดยนำเชื้อจุลินทรีย์นาโนที่ได้มาใช้ร่วมกับสารอาหารหลัก รอง และเสริมอินทรีย์ กับผักสลัด เช่น กรีนโอ๊ค เรคโอ๊ค ครอส ฟิโน่เร่ แบบที่ไร้ดินและใช้ดิน ปรากฏว่าการเติบโตของรากและผลผลิตต่อต้น ดีกว่าใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ร่วมกับใช้สารอาหารหลักและรองจากสารละลายเคมี Aและสารละลายเคมี Bสูงถึง 2 เท่า

ขณะที่ใช้ต้นทุนการปลูกต่อครั้งเพียง 1.200 บาท นอกจากนี้ ผักยังกรอบ ปริมาณวิตามินและเกลือแร่สูงกว่า และยืดระยะเวลาการเก็บรักษาได้นานกว่าปกติ

ผลที่ได้จึงนำความรู้มาถ่ายทอดบริการวิชาการสู่ชุมชนซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ มทร.ธัญบุรีระหว่างปี 2561-2564 เพื่อพัฒนาชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้นน้ำ โดยนำมาถ่ายทอดที่ ต.บึงบา อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี

เริ่มจากต้นน้ำ คือถ่ายทอดเทคนิคปลูกผักสลัดร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนร่วมกับสารอาหารหลัก รองและเสริมอินทรีย์ THAN เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต ที่สำคัญผักสลัดที่ผลิตได้มาตรฐานออร์แกนิคและมาตรฐานอาหารปลอดภัย สำหรับจำหน่ายแก่ผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ

ยังต่อยอดถ่ายทอดกลางน้ำ เทคนิคแปรรูป และปลายน้ำ เทคนิคการบริหารจัดการด้านการตลาด ร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบเกษตรแม่นยำ (smart farmer) ตรวจติดตามผลดำเนินการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างต่อเนื่อง 5 ปี เพื่อให้กลุ่มเกษตร ศพก.ย่อย หนองเสือ จ.ปทุมธานี ได้แนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP : Good Agriculture Practices) เพิ่มผลผลิต รายได้เพิ่มขึ้น ลดต้นทุนอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

รมว.ศธ.และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มอบนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” วันที่ 26 เมษายน 2567 พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และโรงเรียนวัดศรีดอนชัย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา…

สพม.ลำปาง ลำพูน ขับเคลื่อนสถานีแก้หนี้ครู สพฐ ประจำเดือนเมษายน 2567           วันที่ 26 เมษายน 2567 นางนภาพร พงษ์ขัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มอบหมายให้ นางนฤมล พันลุตัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูนนำคณะทีมบริหารที่รับผิดชอบสถานีแก้หนี้เข้าร่วมรับฟัง…

🚩วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น.นายกัมปนาท ศรีเชื้อ ผอ.สพป.เลย เขต 3 เป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2566และเตรียมแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2567 ของกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาผู้เข้าประชุมประกอบด้วย นางญาณิศา…