Website Sponsored

ทราบเเล้วเปลี่ยน เรียนออนไลน์เเบบไม่เครียด

Website Sponsored
Website Sponsored

|

วันที่ 03 กันยายน 2564

|

อ่าน : 27

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เเฟ้มภาพ

เมื่อวิถีการเรียนออนไลน์ทอดเวลายาวนานนับปี หลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนถูกเปลี่ยนมาอยู่บนหน้าจอมากขึ้น ส่งผลให้เด็กไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อีกทั้งการอยู่หน้าจอมากเกินไป ย่อมมีผลต่อสุขภาพได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จึงร่วมมือกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ “ทราบแล้วเปลี่ยน” แนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กในช่วงเรียนออนไลน์ เพื่อร่วมหาทางออกปัญหาเรียนออนไลน์ จากนักจิตวิทยาเด็ก และผู้บริหารจากกระทรวงศึกษา


          

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เผยว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนเป็นวงกว้าง รวมถึงการ เรียนออนไลน์ของเด็ก จากการศึกษาข้อมูลของ TPAK พบว่า เด็กไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากกว่า 13 ชั่วโมงต่อวัน ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 เด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้นเป็น 14 ชั่วโมงต่อวัน เพราะส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์และนั่งอยู่หน้าจอทั้งวัน ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กต้องขยับร่างกาย 60 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า เด็กไทยมีกิจกรรมทางกาย การเล่น หรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอ เฉลี่ย 26% แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 สถานการณ์ดังกล่าวยิ่งน่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น คือ เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลงเหลือเพียง  17%

“การไม่ขยับร่างกาย หากไม่เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว มีผลต่อการเรียนรู้ และเจริญเติบโต เด็กอาจติดเป็นนิสัยในอนาคต สสส. จึงแนะนำว่า ในชั่วโมงเรียนควรให้มีช่วงพักเพื่อเข้าห้องน้ำ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ได้เล่นผ่อนคลายบ้าง และเมื่อเลิกเรียน ควรมีกิจกรรมในบ้าน ร่วมกัน เช่น ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย หรือแม้แต่การเล่นของเด็ก ก็ช่วยเสริมสร้างร่างกาย จิตใจ และพัฒนาสมอง ถือเป็นโอกาสดีที่ครอบครัวจะสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้   สสส. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมทำชุด ความรู้ “คู่มือการจัดการโรงเรียน รับมือโควิด-19″ ซึ่งขณะนี้ มียอดดาวน์โหลดนับล้านครั้ง ผู้ปกครองหรือครูสามารถนำไป ปรับใช้ได้”

ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้าศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายฯ  เผยว่า จากการสำรวจข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและ ผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ และการจัดการด้านสุขภาพ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 – ปริญญาตรี ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งหมด 243 คน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่านักเรียน ประสบปัญหาในช่วงการเรียนออนไลน์หลายด้านด้วยกัน

โดยผลสำรวจพบปัญหาที่นักเรียนประสบสูงสุด 8 อันดับ คือ 1. มีอาการปวดตา/ตาอ่อนล้า/ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ/ปวดหลัง/ปวดคอและบ่าไหล่ และพฤติกรรมเนือยนิ่ง 79%  2. เครียด วิตกกังวล โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เตรียมศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 เตรียมศึกษาต่อ มหาวิทยาลัย เพราะกังวลว่าจะไม่มีโรงเรียนที่ดีรับเข้าเรียน 74.9% 3. จำนวนการบ้านมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อเวลาในการพักผ่อน/การนอนหลับในแต่ละวัน 71.6% 4. มีความรู้สึกไม่อยากเรียน ร้อยละ 68.3% 5. ห่วงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต 66.3% 6. ขาดกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย น้อยลง 58%  7. สภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เอื้ออำนวยทำให้ขาดสมาธิ 57.2%  และ 8. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 56%

ผศ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และกุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เผยว่า จากการเรียนออนไลน์ ทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพหลายด้าน ทั้งเรื่องการกิน การนอน หากผู้ปกครองไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเกิดภาวะอ้วนได้ ซึ่งหากเด็กอ้วนแล้วจะนำไปสู่ การเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวต้องเป็นไปในเชิงบวก พ่อแม่ต้องจัดสรรเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกในช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์ พ่อแม่ต้องทำงานที่บ้าน ความเข้มแข็งทางจิตใจของพ่อแม่ จะทำให้เด็กมีพลังในการลุกขึ้นสู้

นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เผยว่า ขณะนี้ได้มีการดำเนินการ สั่งการแล้วให้มีการจัดลำดับความสำคัญ แจ้งให้ครูสั่งการบ้านให้น้อยลง ลดขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การประเมินผล และโรงเรียนจะต้องมีการบูรณาการการให้การบ้านกับนักเรียน และอีกด้านหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการพยายามลดภาระของผู้ปกครอง ด้วยการจัดสรรเงินอาหารกลางวันคนละ 20 บาทต่อวัน ส่งตรงถึงผู้ปกครองเพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดหาซื้ออาหารให้เด็ก และได้มีการเปลี่ยนนมพาสเจอไรซ์ มาเป็นนมยูเอชที เพื่อสะดวกในการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน ส่วนเรื่องการเยียวยาผู้ปกครองขณะนี้ได้มีการลดค่าเทอม และรัฐ ให้เงินอุดหนุนเด็กนักเรียนคนละ 2,000 บาท

ฉะนั้นแล้ว เมื่ออยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ ก็ควรใช้วิธีคิดและวิธีการที่ยืดหยุ่น อย่าเล็งผลเลิศทางวิชาการอย่างเดียว ควรเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิกฤตการณ์ในช่วงนี้

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ดร.อนุกูล ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายเรืองยศ ปันศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กรรมการ ดร.อัจฉรา ช่วยนุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่…

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 5 มอบนโยบายและให้โอวาทในการปฏิบัติงานและความเป็นผู้นำทางวิชาการในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และการใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการ ตลอดจนการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ให้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาในการรับรายงานตัวเพื่อเลือกสถานศึกษาเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต…

‘กระทรวงศึกษา’ แจงชัด! สั่งเลื่อนเปิดเทอมทั่วประเทศ เพราะอากาศร้อนจัด? | The Bangkok Insight | LINE TODAY

"กระทรวงศึกษาธิการ" แจงชัด! หลังมีข่าวสั่งเลื่อนเปิดเทอมทั่วประเทศ เพราะอากาศร้อนจัด ชี้เป็นข่าวบิดเบือน แต่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพิจารณาได้ตามความเหมาะสมAnti-Fake News Center Thailand รายงานว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ออกมาว่า ไทยประกาศเลื่อนปิดเทอมปีการศึกษา 2567 เนื่องจากอากาศร้อน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือนเลื่อนเปิดเทอมกรณีการเผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่า ไทยประกาศเลื่อนปิดเทอมปีการศึกษา…