Website Sponsored

“ม.มหาสารคาม” ทำจริง ใช้จริง! ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้ ประหยัดทุน บำรุงดิน

Website Sponsored
Website Sponsored

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีขยะประเภทกิ่งไม้ ใบไม้ที่เกิดจากการตัดแต่งกิ่ง และการตัดหญ้าของงานภูมิทัศน์ มีปริมาณเป็นจำนวนมากต่อวัน โดยงานจัดการขยะและของเสีย กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีแนวคิดที่จะเพิ่มคุณค่าของเศษใบไม้เหล่านี้ โดยการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร มีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม

อีกทั้งเป็นการส่งเสริมนโยบายมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) อุดมไปด้วยไนโตรเจนและธาตุอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสำหรับพืช สามารถใช้ปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ พืช ผัก และผลไม้

นางสาวจุฬาลักษณ์ ปะวันนา เจ้าหน้าที่งานจัดการขยะและของเสีย กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า หลังจากที่กองอาคารสถานที่ มีนโยบายดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มุ่งมั่นจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงาน นอกเหนือจากรณรงค์การคัดแยกขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้แล้ว การจัดการกับปัญหาขยะที่สามารถย่อยสลายได้ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ต้องทำต่อเนื่องควบคู่กันไปนั่นก็คือการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้

โดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัวและผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช มีส่วนผสม เศษอินทรีย์ ได้แก่ ใบไม้ เศษหญ้า 10ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน แกลบดำ 1 ส่วน และน้ำหมักชีวภาพ (EM) 1 ส่วน

มีขั้นตอน และวิธีทำ คือ สับย่อยเศษใบไม้ ใบหญ้า ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และเศษใบไม้ เศษหญ้า ที่ผ่านการสับละเอียดคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นไปวางกองเรียงเป็นแถวให้มีความหนาไม่ 15 เซนติเมตร รดน้ำหมักชีวภาพให้ทั่วกองปุ๋ยและรดน้ำตาม กลับกองปุ๋ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายประมาณ 45-60 วัน ขั้นตอนสุดท้ายนำไปอัดเม็ดและนำไปใช้ประโยชน์

สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ เมื่อปุ๋ยเริ่มย่อยสลายจะมีลักษณะสีคล้ำดำ แสดงว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

ทั้งนี้ งานภูมิทัศน์ กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ดังกล่าว ไปบำรุงต้นไม้ ปรับปรุงดิน ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อปุ๋ย อีกทั้งทำให้ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัย เกิดความสวยงาม ร่มรื่น มีบรรยากาศที่ดีในการเรียน การทำงาน และเกิดความประทับใจแก่ผู้มาเยือน

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

หลวงพี่น้ำฝนพร้อมรับดูแลน้องเสียงแคน พร้อมส่งเรียนผลักดันเป็นศิลปินส่วนพ่อต้องมาคุยกัน

หลวงพี่น้ำฝน รับทราบเรื่องน้องเสียงแคนจากกัน จอมพลัง บอกพร้อมรับมาดูแลส่งเสียให้เรียนพร้อมผลักดันด้านดนตรีให้เป็นศิลปินในอนาคตได้ ส่วนพ่อประสบปัญหาด้านการเงินต้องแยกประเด็นตอนนี้ เราต้องช่วยปัญหาของเด็กก่อน หากพ่อลูกพร้อมมีที่อยู่ในวัดส่งเสริมการศึกษาและผลักดันด้านดนตรีอย่างมีระบบ แต่ต้องมีการเข้ามาหารือกันอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง สำหรับการช่วยเหลือ วันที่ 2 พฤษภาคม 67 จากกรณีผู้ใช้สื่อโซเชียล Tiktok มีการโพสต์คลิป น้องเสียงแคน ใส่ชุดนักเรียนนั่งเล่นเปียโน อยู่ในตลาดนัดในย่านรามอินทรา โดยมีความสะเทือนใจสำหรับผู้ที่พบป้ายข้อความ…

สพฐ. กำชับโรงเรียนช่วยเหลือผู้ปกครองผ่อนปรนค่าบำรุงการศึกษา ย้ำเด็กที่เรียนจบต้องได้เอกสารการจบทุกคน วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย รองโฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองโฆษก สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)…

'สพฐ.'สั่งเด้งด่วน'ผอ.โรงเรียนดัง'ขอนแก่น สอบเชิงลึกเอี่ยวแป๊ะเจี๊ยะหรือไม่? วันพุธ ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 20.59 น. Tag : ด่วน! “ธนุ”สั่งเด้ง ผอ.รร.ดังจังหวัดขอนแก่นเข้า สพฐ.พร้อมสั่งสอบสวนวินัยร้ายแรง รอง.ผอ.รับแป๊ะเจี๊ยะแลกที่นั่งเรียน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2567…