Website Sponsored

“ม.มหิดล”คิดค้นผลิตภัณฑ์เสริม”แคลเซียม”แม่ให้นมลูก

Website Sponsored
Website Sponsored

ด้วยสมองและสองมือ
/:j.napaporn175@gmail.com

ร่างกายของมนุษย์อายุ 20 – 50 ปี รวมถึงผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร จะมีความต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัมต่อวัน

ซึ่งจากผลการสำรวจในประเทศไทยพบว่า คนไทยจำนวนมากรับประทานแคลเซียมได้เพียงร้อยละ 40 – 60 ของปริมาณที่แนะนำ และในระหว่างให้นมบุตรนั้น แม่จะต้องสูญเสียแคลเซียมอีกราว 200 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อนำไปใช้สร้างน้ำนม

ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และผอ.สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้แม่มีสุขภาพกระดูกที่ดีและป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการให้นมบุตร จึงคิดค้น “ผลิตภัณฑ์และวิธีการเสริมแคลเซียมสำหรับแม่ที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร” ขึ้น

ศ.นรัตถพล กล่าวว่า การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ของคนทั่วไปและผู้หญิงระยะให้นมบุตร แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลไกระดับเซลล์ที่ใช้สำหรับดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ ทีมวิจัยจึงร่วมกันคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบที่สามารถกระตุ้นโปรตีนขนส่งแคลเซียมได้ ซึ่งระยะให้นมบุตรเป็นช่วงที่แม่ต้องการแคลเซียมในปริมาณมาก จึงควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดช่วงให้นมบุตร

ผลิตภัณฑ์นี้เป็นอีกแหล่งของแคลเซียมที่จะช่วยให้แม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน แต่หากรับประทานได้เพียงพออยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสริมให้มากกว่าปริมาณที่แนะนำ

ปกติแคลเซียมในน้ำนมแม่ได้มาจาก 2 แหล่งคือ อาหารที่รับประทานเข้าไป และจากการสลายแคลเซียมจากกระดูกของแม่ โดยมวลกระดูกของแม่อาจลดลงได้มากถึงร้อยละ 6 – 10 ในระหว่างให้นมบุตร แม้ว่ามวลกระดูกจะกลับมาปกติหลังหย่านม แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันแน่ชัดถึงผลกระทบระยะยาว

ปกติแคลเซียมเสริมที่จำหน่ายในท้องตลาดจะเป็นเม็ด มีองค์ประกอบเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งจะแตกตัวได้น้อยในภาวะที่เป็นด่างของโพรงลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีอัตราดูดซึมต่ำ ดังนั้น เพื่อให้การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรอยู่ในรูปแบบที่ละลายง่าย ร่วมกับมีองค์ประกอบที่สนับสนุนให้โปรตีนขนส่งแคลเซียมทำงานได้ดี

โดยทั่วไป แม่ที่กำลังให้นมบุตรจะมีฮอร์โมนโพรแลคตินสูงในเลือด 60 – 120 นาทีระหว่างการดูดนมของลูก

ทีมวิจัยยังค้นพบอีกว่าฮอร์โมนโพรแลคตินสามารถเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้อีก จึงออกแบบรูปแบบการรับประทานผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการทำงานของโพรแลคตินคือ รับประทานก่อนการดูดนมของลูกประมาณ 15 – 30 นาที เพื่อให้แคลเซียมมาสะสมรออยู่ในโพรงลำไส้

พอเมื่อมีการดูดนม โพรแลคตินที่เพิ่มสูงขึ้นในเลือดของแม่ก็จะทำให้ลำไส้แม่ดูดซึมแคลเซียมได้เพิ่มขึ้น ทางทีมวิจัยเรียกวิธีนี้ว่า “pre-suckling calcium supplement”

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเสียมวลแคลเซียมจากกระดูกของแม่ระยะให้นมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มปริมาณแคลเซียมในน้ำนม ลูกจึงได้รับนมแคลเซียมสูงตามธรรมชาติ ทำให้มวลกระดูกของลูกเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อแม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงเพียงพอจากการรับประทานแคลเซียม ก็จะลดการสลายกระดูกลงทำให้กระดูกของแม่แข็งแรงมากขึ้นตามไปด้วย

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

สพฐ. เปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูต่อเนื่อง 3 ด้าน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความพร้อมในทุกด้านสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 นี้ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี…

กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ผนึกกำลัง กปร. และธ.ก.ส.ปล่อยคาราวานลุยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของศศช.จังหวัดเชียงใหม่ – สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ ศศช. บ้านห้วยแห้ง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานร่วมกับนางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และนายเกียรติศักดิ์ พระวร…

เปิดเทอมนี้ สพฐ.สั่งโรงเรียนรับมือ 4 ภัย เตรียมแผนเผชิญเหตุ

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( กพฐ.) เปิดเผยถึงมาตรการเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษารองรับการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2567 ว่า เนื่องจากโรงเรียนทยอยเปิดเทอมมาตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม และจะเปิดครบ 100% ในวันที่พรุ่งนี้ (16 พฤษภาคม) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(…