Website Sponsored

CASE : โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้และมั่นคง ชงรัฐพาไทยสู่เป้า COP “ลดคาร์บอน ไม่ต้องจ่ายแพง”

Website Sponsored
Website Sponsored


โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ CASE เผยผลวิจัยเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ชงข้อเสนอรัฐบาล พาไทยเพิ่มประสิทธิภาพการบรรลุเป้าหมาย ลดคาร์บอนให้ได้ตามเป้า COP โดยไม่ต้องจ่ายแพง พ่วงประโยชน์ต่อประเทศอีกหลายด้าน

จากคำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเจตนารมณ์บนเวทีประชุมผู้นำ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนไปสู่ COP27 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ เมืองชาร์ม เอล ชีค ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายนนี้

เมื่อวานนี้ (2 พฤศจิกายน 2565) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), กระทรวงเศรษฐกิจ และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งรัฐบาลเยอรมัน (BMWK), สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ERI) และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกันจัดงาน เสวนาสาธารณะ “จาก COP26 สู่ COP27: เดินหน้าภาคพลังงานสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2050” ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ เพื่อเปิดเผยผลการศึกษา “แนวทางการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย: การวางแผนระดับประเทศในระยะยาวและนัยยะด้านเศรษฐกิจและสังคม” (Towards a collective vision of Thai energy transition: National long-term scenarios and socioeconomic implications (TET2S) ดำเนินการภายใต้โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean Affordable Secure Energy for Southeast Asia – CASE)


หลังคณะผู้วิจัยได้ศึกษาเส้นทางลดคาร์บอนในภาคพลังงานที่ครอบคลุมในภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งของประเทศไทย ด้วยต้นทุนต่ำ พร้อมระบุหมุดหมายต่าง ๆ ที่ต้องทำให้ได้เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) หรือ Carbon neutrality 2050 ตามที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ พร้อมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ในเวที COP26 เมื่อปีที่ผ่านมา

ดร.สิริภา จุลกาญจน์ นักวิจัยโครงการ CASE จาก สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำเสนอผลการศึกษาในหัวข้อ “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงาน 2050” เผยว่า การศึกษาของ โครงการ CASE มุ่งศึกษาแนวทางลดคาร์บอนในภาคพลังงาน เนื่องจากภาคพลังงานมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง จึงต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sector) ลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการใช้แหล่งกักเก็บคาร์บอน (carbon sink)

โดยผลการศึกษาชี้ว่าแผนพลังงานและนโยบายที่มีในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอสำหรับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงานได้ จึงเสนอภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบายพิจารณาเส้นทางไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ที่ต้องอาศัยเป้าหมายการลดคาร์บอนที่เข้มข้นขึ้นในภาคพลังงาน

ข้อเสนอจากผลการศึกษา ระบุว่า ภาคการผลิตไฟฟ้าควรเน้นเพิ่มการผลิตที่มาจากแสงอาทิตย์และลม ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมควรใช้การผลิตไฟฟ้าโรงงาน จากเทคโนโลยีพลังงานประสิทธิภาพสูงและในภาคขนส่งควรปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะ ระบบราง และพาหนะส่วนบุคคล

“เราคาดว่าต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า มีแนวโน้มลดลง สวนทางกับราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น หากเราสามารถทำตามเส้นทาง Carbon Neutrality ที่ โครงการ CASEนำเสนอภายใต้การศึกษานี้ได้ เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทาง คาร์บอนได้โดยที่ไม่ทำให้ต้นทุนในภาคการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น โดยเส้นทางดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ระบบไฟฟ้ามีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีต้นทุนต่ำ (least cost optimization) และอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน” ดร.สิริภา จุลกาญจน์ กล่าว

การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานตามแนวทางที่เสนอแนะดังกล่าวข้างต้น ยังสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อีกหลายทาง อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการลดความเสี่ยง และการผันผวนจากราคาพลังงาน และการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเกิดการสร้างประโยชน์ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้ถึง 4.5 ล้านล้านบาทระหว่างปี 2020-2050 ช่วยลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป(CBAM) ที่จะทำให้ไทยส่งออกได้ลดลง หรืออุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ยังสามารถสร้างการจ้างงานในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้ราว 8 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2020-2050 จากการเพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และลม อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เพราะจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ และทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้คน จากปัญหามลพิษทางอากาศลดลงได้ถึง 26,000 ราย ในระหว่างปี 2020-2050

นอกจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการแล้ว ในงานดังกล่าวได้มีการจัดเวทีเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ“ทบทวนคำสัญญาผู้นำไทยกับความเป็นไปได้สู่เวทีCOP27” ที่ได้รับเกียรติจาก นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (สผ.) นายอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการด้านพลังงาน และนางสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนอภิปรายถึงความคืบหน้าและความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) จากคำมั่นสัญญาผู้นำไทยใน COP26 ก่อนไปสู่ COP27 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ เมืองชาร์ม เอล ชีค ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายนนี้


ถ้อยคำประกาศดังกล่าวถือว่าเป็นจุดหักเลี้ยวที่สำคัญ เพราะหากย้อนไปที่แผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยปี 2564-2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030: NDC) เดิมทีนั้นจะอยู่ที่ 20-25%

การขยับตัวเลขไปเป็น 40% ถือว่าเพิ่มความท้าทายพอสมควร เพราะเท่ากับว่าจะต้องลดการปล่อยคาร์บอนจากเดิมที่ 555 ล้านตันให้เหลือ 333 ล้านตัน โดยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงาน ไปจนถึงนโยบาย 30@30 (การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และการใช้งาน)

ล่าสุด “รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4” ที่เตรียมส่งให้ทาง UNFCCC ก่อนการจัดประชุม COP27 ได้ระบุว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นอันดับ 9 ของโลก

ประเทศไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลจากการละลายของน้ำแข็ง อีกทั้งการกัดเซาะชายฝั่ง ภัยแล้งที่มากขึ้น พายุที่ถี่ขึ้น ซึ่งผลกระทบเหล่านี้จะตกอยู่กับผู้มีรายได้น้อย เช่น เกษตรกร ชุมชนชายฝั่ง กลุ่มผู้เปราะบาง

แม้ว่าประเทศไทยจะเตรียมแผนการที่แลดูเป็นรูปธรรมและสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศได้ อย่างแผนการร่วมมือกันระหว่างภาคธุรกิจ แผนการลดก๊าซเรือนกระจก 40% ภายใน ค.ศ. 2030 การตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และ เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ใน ค.ศ. 2065 พร้อมการชูเรื่องเทคโนโลยีกลางที่ประชุม แต่หากเรายังไม่พูดถึงแนวทางการป้องกันและปรับตัวอย่างจริงจัง และการฟังเสียงของภาคส่วนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ก็จะกลายเป็นการเสียโอกาสบนเวที COP27 ที่จะมาถึงนี้


เป้าหมาย CASE : โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้ และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) มีเป้าหมายขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อมุ่งสู่การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่ 4 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์

โดยทั้ง 4 ประเทศมีการผลิตไฟฟ้าคิดเป็นเกือบ 3 ใน 4 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคิดเป็นประมาณ 72% ของ GDP ของภูมิภาค และ 82% ของประชากรทั้งหมด การพัฒนาพลังงานของประเทศเหล่านี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถของภูมิภาคในการบรรลุเป้าหมายทั้งด้านการพัฒนาและความยั่งยืน ตลอดจนถึงการบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส 

โครงการ CASE มุ่งเน้นการเสนอวิธีแก้ปัญหาที่อิงหลักฐานให้กับผู้กำหนดนโยบายที่กำลังเผชิญความท้าทาย และสร้างการสนับสนุนทางสังคมต่อวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นในภูมิภาค โดยใช้แนวทางการค้นหาข้อเท็จจริงร่วมกันเพื่อลดขอบเขตของความเห็นต่างผ่านการมีส่วนร่วมของการวิเคราะห์และการอภิปรายจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ CASE ยังมุ่งสนับสนุนการประสานงานในภาคพลังงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและนโยบาย และสนับสนุนการหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับประเด็นด้านพลังงาน

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

เช็กค่าเทอม “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา ปี 2567

เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ Dek67 กำลังตื่นเต้นและรอคอย สำหรับการยื่นคะแนนในรอบที่ 3 แอดมิชชันในระบบ TCAS67 ที่ได้กำหนดเปิดรับสมัครวันที่ 6 พ.ค. ถึงวันที่ 12 พ.ค. 2567 นี้สำหรับใครที่ตั้งเป้าเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ที่หลายคนใฝ่ฝัน "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" จะพาทุกคนไปเช็กว่า อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย สำหรับนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ภาคต้น…

เปิดช่อง “บวชเรียน” ได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา | ์

์ วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2024 เปิดช่อง “บวชเรียน” ได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา “เจ้าคุณพล” เผยแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษาของสามเณร เปิดช่อง “บวชเรียน” ได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา “เจ้าคุณพล” เผยแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษาของสามเณร พระเทพเวที (พล อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม เลขานุการด้านศาสนศึกษา…

J

ให้โอกาสการศึกษา! "ทวี" มอบนโยบาย พัฒนาเรือนจำ-ทัณฑสถาน พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องราชทัณฑ์  ข่าวสด