-- advertisement --

20 มิ.ย.65-ที่ลานกิจกรรม อาคารเอส. พี. ชั้น 13 – กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดงานเสวนา “เปิดเทอมใหม่ยังมีเด็กไปไม่ถึง…โรงเรียนโดยว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ช่วงเวลาที่นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุดจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปีการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยข้อมูลจากศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา ของกสศ.พบว่าสาเหตุสำคัญของการหลุดนอกระบบการศึกษาในช่วงปีการศึกษา 1/2565 มาจาก ปัญหายากจนเฉียบพลัน ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม ไม่ได้วุฒิการศึกษา ส่งผลให้ศึกษาต่อไม่ได้สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาเหล่านี้ ขอให้ผู้ปกครองติดต่อไปยังสถานศึกษาสังกัดสพฐ.ที่อยู่ใกล้บ้าน ทุกแห่งพร้อมเปิดรับ แม้ยังไม่ได้มีวุฒิการศึกษาจากโรงเรียนปลายทางให้เข้ามาเรียนหนังสือก่อนได้เลยเงินจะต้องไม่เป็นอุปสรรค ส่วนนักเรียนที่ไม่มีค่าเดินทางมาเรียน หรือไม่มีผู้อุปการะทางการศึกษา สพฐ. มีโรงเรียนพักนอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และมีโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ โรงเรียนสังกัดสพฐ. กว่า 29,000 แห่งเพื่อรองรับเด็กที่มีปัญหากลุ่มนี้

“ผมอยากให้โรงเรียน ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปเข้ามาช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพื่อติดตามไม่ให้มีเด็กคนใดตกหล่น ถ้าพบเห็นเด็กและเยาวชนที่กำลังหลุดจากระบบการศึกษายังไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ว่าด้วยอุปสรรคใดใดก็ตาม ให้ติดต่อโรงเรียนใกล้บ้านเพื่อให้การช่วยเหลือทันที อย่าปล่อยให้เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน”รองเลขาฯ กพฐ.กล่าว

ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ)จากโครงการลมหายใจเพื่อน้องเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา อาทิ เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเดินทางมาเรียน ค่าครองชีพระหว่างเรียน ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อการศึกษาอื่นๆ จำนวน 1,000-3,000 บาทจแม้จะไม่ใช่เงินจำนวนมากแต่ก็เพียงพอที่จะช่วยต่อลมหายใจให้แก่น้องๆ กลุ่มรอยต่อนี้ให้คงอยู่ในระบบการศึกษาต่อไปได้ แต่ต้องขอความร่วมมือโรงเรียนต้นทางช่วงชั้นรอยต่อ ป.6 และ ม.3 ปีการศึกษา 2564 ประสานกับโรงเรียนปลายทางให้นักเรียนกลับมารับทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ)จากโครงการลมหายใจเพื่อน้องเพื่อให้นักเรียนกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์ และยังคงเรียนต่อในโรงเรียนต่อไปได้

ด้านไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดทางการศึกษาทั้ง 6 สังกัดสำรวจความเสี่ยงในการหลุดออกจากระบบการศึกษาของครัวเรือนยากจนพิเศษที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,094 บาท ต่อคน/เดือน หรือเฉลี่ยวันละ 30-40 บาทซึ่งมีบุตรหลานอยู่ในช่วงชั้นรอยต่อระดับ ป.6 และ ม.3 เมื่อปีการศึกษา 2/2564 ที่ผ่านมาพบจำนวนมากกว่า 350,000 คนทั่วประเทศนอกจากนี้ยังพบว่ามีนักเรียนยากจนพิเศษในช่วงชั้นรอยต่อดังกล่าวนี้ราว 100,000 คนที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะจำเป็นต้องย้ายสถานศึกษาในช่วงเปิดเทอมปีการศึกษา 2565 นี้ เนื่องจากสถานศึกษาเดิมไม่มีการจัดการศึกษาในชั้น ม.1 และ ม.4/ปวช. โดยในจำนวนมีนักเรียนจำนวนราว 10,000 คนที่แจ้งว่าจำเป็นต้องออกจากระบบการศึกษาหลังจากสำเร็จชั้น ม.3 เพื่อช่วยเหลือหารายได้เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19

นายไกรยศ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาเด็กหลุดออกนอกระบบช่วงรอยต่อ กสศ. จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาคเพิ่มเติม (กลุ่มชั้นรอยต่อ) ภายใต้โครงการลมหายใจเพื่อน้อง ที่บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) และ กสศ.ร่วมมือกัน จำนวน 103,284 คนโดยให้ทุนการศึกษานักเรียนในสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ตชด. อปท.และสช. รวม 17,432 แห่ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 20 – 24 มิถุนายน 2565 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเดินทางมาเรียน ค่าครองชีพระหว่างเรียน ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อการศึกษาอื่นๆ จำนวน ทุนการศึกษาละ 1,000 บาท สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนทุนเสมอภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุนการศึกษาละ 3,000 บาท


นอกจากนี้นักเรียนที่เสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา สามารถติดต่อมายังศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษาเพื่อช่วยเหลือ โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเงินบริจาคเป็น “กองทุนแรกเริ่มศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา ได้ที่เบอร์โทร 065 506 9574 / 065 506 9352 02-079-5475 ต่อ 0

เพิ่มเพื่อน

-- advertisement --