หน้าแรก ข่าวการศึกษา วันแม่ : ลูกทำร้ายร่างกายแม่ ประเด็นปัญหาที่ถูกซุกใต้พรม

วันแม่ : ลูกทำร้ายร่างกายแม่ ประเด็นปัญหาที่ถูกซุกใต้พรม

-- advertisement --
  • ซาราห์ แม็กเดอร์มอตต์
  • บีบีซี นิวส์

Illustration representing a violent relationship

พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะถูกลูกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทำร้าย แต่ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นก็อาจทำให้พ่อแม่อยู่ในสภาพเหมือนกำลังอยู่บนทางสองแพร่ง เพราะจะเดินหนีก็จะเป็นการทิ้งปัญหาไว้ แต่การจะแสวงหาความช่วยเหลือก็อาจส่งผลกระทบกับตัวเด็ก

มีงานวิจัยที่ชี้ว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ ทั้งที่ในความจริงแล้วเรื่องนี้เกิดกับพ่อแม่ในหลายครอบครัวมากกว่าที่เราคิดกัน

ลองมาดูเรื่องราวของไอเเดน (นามสมมุติ) เด็กชายวัย 10 ขวบ ที่จู่ ๆ ก็ตัดสินใจว่าเขาจะฆ่าสุนัขที่ครอบครัวเลี้ยงไว้ เขาเอาไส้กรอกล่อสุนัขให้ไปที่ด้านหลังโซฟา แล้วใช้มือบีบตะกร้อครอบปากและคอของเจ้าสุนัข

“สิ่งที่แย่ก็คือจริง ๆ แล้วเขารักทั้งสุนัขและรักฉันมากกว่าใคร ๆ ” เฮเซล (นามสมมุติ) แม่ของไอแดน เล่า “แต่เราทั้งสองมักตกเป็นเป้า ซึ่งบางทีเขาก็จะทำร้ายสุนัขเพื่อเรียกความสนใจจากฉัน”

ไอแดนทั้งเตะและต่อย และบางครั้งก็กัดแม่ เขาบอกว่าเกลียดและอยากให้แม่ตาย โดยจะเอาปืนมายิงเธอ เขาเคยผลักแม่ตกบันไดและตอนนี้เขารู้แล้วว่าจุดอ่อนของแม่อยู่ตรงไหน แม่เป็นคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น แม้เขาจะขว้างสิ่งของใส่ เธอก็ไม่รู้ว่าสิ่งของเหล่านั้นกำลังจะมาโดนตัวเธอ

เมื่อเร็ว ๆ นี้เขาโยนกาต้มน้ำใส่แม่ เดชะบุญที่น้ำในกาไม่เดือด ตอนนั้นไอแดนไม่รู้ว่าน้ำในกาเป็นน้ำเย็น

“ฉันรู้สึกเหมือนเป็นเหยื่อถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว คุณมักจะพูดว่าถ้าถูกสามีทำร้ายเพียงครั้งเดียว คุณก็จะออกจากบ้านไปเลย แต่คุณจะไม่ทำแบบนั้นกับลูกใช่ไหม เพราะคุณคือคนที่ต้องปกป้องดูแลลูก แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายด้วย” เฮเซล กล่าว

ของมีคมทุกอย่างในบ้านรวมทั้งมีดถูกเก็บล็อกไว้อย่างแน่นหนา เพราะไอแดนทำร้ายตัวเองและคนอื่น ๆ ในครอบครัว เขาใช้ของมีคม รวมทั้งกรรไกรและที่ตัดเล็บ

ไอแดนมีอายุสี่ขวบ ตอนที่ฮาเซลและสามีรับเขามาเลี้ยง ซึ่งทั้งสองก็รู้ในทันทีว่าไอแดนเป็นเด็กที่มีความซับซ้อน แต่ก็เลือกที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งสถานการณ์ก็ไม่ได้ราบรื่นมาตั้งแต่แรก เพราะเขาทั้งต่อย ดึงผม และถ่มน้ำลายใส่ สามี ภรรยาคู่นี้คิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปพฤติกรรมของเขาคงจะดีขึ้น แต่กลับเป็นตรงกันข้าม

ตอนอายุได้ห้าขวบไอแดนทำร้ายครูผู้ช่วยสอนที่โรงเรียนจนครูต้องเข้าโรงพยาบาลสองครั้ง โดยครั้งแรกเขาเตะเข้าที่ใบหน้าตอนที่ครูก้มเก็บของที่เขาเหวี่ยงลงพื้นด้วยความโมโห

I know how violent he was – I saw the bruises all over the teaching assistants

ที่โรงเรียนครูต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษว่าจะดูแลให้ไอแดนปลอดภัยได้อย่างไรหากเขาทำอะไรที่รุนแรงขึ้นมา ซึ่งก็รวมถึงการกักตัวไว้ โดยมีครูอยู่ใกล้ ๆ ด้วย เฮเซลเองมาคิดในตอนนี้ว่าเธอควรยอมให้โรงเรียนทำอย่างนั้นกับลูกรึเปล่า เพราะนั่นอาจจะกระทบจิตใจลูก แต่เธอก็รู้ว่าลูกมีอารมณ์รุนแรงแค่ไหน และครูที่โรงเรียนก็ตัวฟกช้ำดำเขียวไปตาม ๆ กัน

ทางโรงเรียนต้องสร้างห้องพิเศษที่มีผนังและพื้นบุนิ่ม ๆ เพื่อไม่ให้เขาทำร้ายตัวเองและคนอื่น แต่ไอแดนก็ทุบทั้งกระจกและประตู จนทางโรงเรียนบอกกับแม่ว่าให้เขาเรียนที่นั่นต่อไปไม่ไหวแล้ว

ในสหราชอาณาจักร เมื่อราวสิบปีก่อน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด เคยวิเคราะห์ข้อมูลที่ตำรวจจัดเก็บเกี่ยวกับกรณีลูกทำร้ายร่างกายพ่อแม่ ซึ่งพบว่าในรอบ 12 เดือน มีอยู่ราว 1,900 กรณี เฉพาะในกรุงลอนดอน

เรเชล คอนดรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญวิทยา ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิจัยในตอนนั้น ประเมินว่าทั่วประเทศน่าจะมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นหลายหมื่นกรณีทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บบันทึก

“มันเป็นปัญหาที่ทุกซุกซ่อนเอาไว้ เพราะพ่อแม่ไม่อยากแจ้งตำรวจหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือไม่ได้แสวงหาความช่วยเหลือ” ผู้เชี่ยวชาญระบุ และบอกด้วยว่ามีพ่อแม่หลายคนที่บอกว่าต้องถูกลูกทำร้ายอยู่นานเป็นปี และโทรหาตำรวจก็ต่อเมื่อรู้สึกกลัวขึ้นมาจับใจ

“ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่พ่อแม่จะกลัวว่าจะเป็นการทำให้ลูกกลายเป็นผู้ก่ออาชญากรรม และผลพวงที่จะเกิดตามมา”

Because no-one talks about it you think perhaps you’re the only person that’s experiencing it

เฮเลน บอนนิค อดีตนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเขียนหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเด็กต่อพ่อแม่ บอกว่าพ่อแม่จำนวนมากยังอายที่จะบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นให้เพื่อนหรือคนรอบข้างฟัง และเมื่อเก็บงำเอาไว้ก็ทำให้คิดว่ามีตัวเองเพียงคนเดียวที่เจอปัญหานี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญวิทยาบอกว่าสิ่งที่พบบ่อยคือกรณีลูกชายทำร้ายร่างกายแม่

กลับมาที่เรื่องของไอแดน ตอนนี้ไม่มีโรงเรียนใกล้บ้านโรงเรียนไหนรับเขาเข้าเรียน ส่วนโรงเรียนที่จะรับเขาก็อยู่ห่างจากบ้านไปราวครึ่งชั่วโมง ซึ่งที่นั่นก็ยังไม่อาจช่วยเหลือเขาได้เต็มที่ เฮเซลเองต้องเสียเงินเข้าคอร์สอบรมเทคนิคในการทำให้ไอแดนสงบลงได้เพื่อไม่ให้ถูกเขาทำร้าย ซึ่งอย่างหนึ่งก็คือการกอดหมอนอิงอันใหญ่ ๆ เอาไว้เพื่อป้องกันตัว

“ครั้งแรกเขาเข้ามาดึงมันออกไปและใช้หมอนอิงตีฉัน” เธอเล่า แต่ครั้งที่สองเธอกอดหมอนอิงไว้แน่นกว่าเดิม แม้ไอแดนจะต่อยและเตะ แต่เขาก็ดึงหมอนออกไปไม่ได้

เฮเซลย้ำว่าลูกของเธอไม่ใช่เด็กชั่วร้าย แต่ที่เขาเป็นแบบนี้ก็เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาในอดีต ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของลูก และเธอกับลูกก็มีความรักให้กัน แต่พฤติกรรมของเขาส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับสามี ที่เคยคิดว่าตัดสินใจผิดในเรื่องของไอแดน จนทำให้ทั้งสองไม่พูดกันไปนานถึงหกเดือน ขณะที่ครอบครัวของเธอเองไม่ต้องการมาเยี่ยมเยือนอีกต่อไปแล้ว และเฮเซลก็หันไปพึ่งสังคมออนไลน์ของบรรดาแม่ที่เผชิญปัญหาเดียวกัน

I found the effect it was having on the family as a whole very distressing, and so I made the decision that I was going to take Aidan and go

ตอนนี้เฮเซล หวังว่าจะมีโรงเรียนประจำที่รับไอแดนเข้าเรียน และให้การบำบัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาภายในเวลาสามปี ก่อนจะส่งให้กลับมาอยู่ที่บ้านและใช้ชีวิต ไปโรงเรียนธรรมดาได้ แต่ขั้นตอนกว่าที่เขาจะได้เข้าโรงเรียนบำบัดยังอีกยาวไกล ในระหว่างนี้เธอต้องคอยคุมลูกไม่ให้ใช้ความรุนแรง และดูแลสุขภาพจิตของตัวเองไปด้วยในเวลาเดียวกัน

เมื่อไหร่ที่ลูกทำร้ายพ่อแม่เป็นประเด็นปัญหา

เว็บไซต์ Who’s in Charge ในอังกฤษให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมควบคุม ข่มขู่ ทำให้หวาดกลัว หรือไม่ปลอดภัย เป็นสัญญาณชี้ว่าไม่ใช่สิ่งปกติ โดยพ่อแม่อาจสังเกตได้จาก

  • คุณเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับลูก
  • คุณกลัวว่าตัวเองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวจะไม่ปลอดภัย
  • ลูกขโมยหรือทำลายข้าวของของคนในครอบครัว
  • ลูกขู่ว่าจะทำร้ายตัวเองหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ โดยมักขู่ว่าจะทำร้ายตัวเองอย่างรุนแรง
  • ลูกทำร้ายสัตว์เลี้ยงในบ้าน
-- advertisement --