-- advertisement --

โรงเรียนสงวนหญิง กับเทคโนโลยีจาก “แอปเปิล”

โรงเรียนสงวนหญิงเป็นโรงเรียนชั้นนำประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ที่นี่มีโครงการพิเศษที่นำภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีเข้าไปผสมผสานในหลักสูตรและเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนอย่างรอบด้าน โดยมีเครื่อง “แมคบุ๊ก” ของบริษัท แอปเปิล เป็นอุปกรณ์หลักที่นักเรียนจะมีคนละเครื่องสำหรับใช้ในการเรียน และมีการใช้งานต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี

นายตรัยพงษ์ เข็มเพ็ชร ผู้อำนวยการโรงเรียนสงวนหญิง ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่า การพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีพื้นฐานเติบโตเป็นอนาคตที่ดีของชาตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโครงการพิเศษ โดยเฉพาะโครงการ “อิงลิง โปรแกรม” ถือว่าเป็นโครงการที่โดดเด่นของโรงเรียนสงวนหญิง โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน สอดรับกับนโยบายประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0”

ส่วนของสงวนหญิงนั้น ได้มีการนำเทคโนโลยีของเครื่องแมคบุ๊ก มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันปี 2564 ก็ประมาณ 15-16 ปีแล้ว

โดยในอดีตที่ผ่านมา ในสมัยที่ยังใช้เครื่องที่ไม่มีโปรแกรมที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เวลานักเรียนส่งผลงานไปแข่งขจัน สุดท้ายก็ต้องถอนตัว เพราะใช้โปรแกรมที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์

ซึ่งทางบริษัท เอสพีวีไอ ตัวแทนจำหน่ายของแอปเปิล ได้เข้ามาประสานงาน และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนในโครงการอิงลิช โปรแกรม ได้ใช้เครื่องแมคบุ๊ก ที่มีระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใช้งานต่างๆครบถ้วน สำคัญคือ ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ และยังมีการจัดอบรมการใช้งานให้ด้วย

นายสุพรรณชาติ แปลงเงิน ครูผู้ริเริ่มโครงการและที่ปรึกษาโครงการหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรืออิงลิช โปรแกรม บอกว่า โครงการอิงลิช โปรแกรม เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 ตอนเริ่มโครงการต้องการทำอิงลิช โปรแกรมของโรงเรียนสงวนหญิงให้อยู่ในระบบการเรียนการสอนของศตวรรษที่ 21

“เราเป็นมาก่อน เราเริ่มมาก่อนแล้ว นักเรียนของเราถือแล็บท็อปมาตั้งแต่ปี 2004 แต่การที่นักเรียนมีแล็ปท็อป ไม่ใช่ว่าทางโรงเรียนบังคับ แต่เป็นความร่วมมือกันและความเห็นตรงกัน ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวนักเรียนเอง เพราะฉะนั้น ก็อาจจะแปลกกว่าที่อื่น ที่นักเรียนเป็น วันทูวัน (หนึ่งคนหนึ่งเครื่อง) แต่เป็นความเห็นด้วยช่วยกันระหว่างผู้ปกครองและตัวนักเรียน และโรงเรียนที่เห็นพ้องต้องกัน”

อาจารย์สุพรรณชาติ บอกว่า จากการประชุมพูดจากันว่า จะใช้คอมพิวเตอร์แบบไหนดี ก็สรุปออกมาได้ว่า เป็นแล็ปท็อป ตอนแรก ก็ต่างคนต่างหากันมา จนกระทั่งปี 2550 นักเรียนก็เริ่มเปลี่ยนมาเป็น “แมคบุ๊ก” ทั้งหมด

ถามว่า “ทำไมต้องเป็นเครื่องของ แอปเปิล”

อาจารย์สุพรรณชาติ อธิบายว่า จากการเรียนการสอนของศตวรรษที่ 21 ทำให้นักเรียนต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง และกิจกรรมที่จัดขึ้นในโครงการก็จะเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องมี creative thinking และ problem solving ซึ่งสองทักษะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่เด็กไทยควรจะมี โดยเฉพาะ problem solving เพราะจะทำให้พัฒนาการทางสมองเจริญขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีของเขาออกมา จะต้องมีการแสดงผลงานชิ้นงาน ตั้งแต่ ม.1-2-3 ซึ่งจะผนวกทั้งความสามารถด้านเทคโนโลยี ทางคอมพิวเตอร์ กับทักษะหลายๆ ด้านที่กระทรวงศึกษาต้องการ ตามหลักที่ว่า เด็กในศตวรรษที่ 21 จะต้องเรียนในลักษณะบูรณาการ มีหลายวิชารวมกันเข้าไป

ดังนั้น จึงต้องมีเครื่องมือให้นักเรียนได้ใช้ แล้วทำให้เขาทันสมัย

อาจารย์สุพรรณชาติ บอกว่า เหตุที่เลือกแมคบุ๊ก ของแอปเปิล อย่างแรกคือ มีแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในเครื่อง ที่สนับสนุนการเรียนการสอน ใช้ง่าย ข้อสองคือ แอปเปิล ประเทศไทย ก็ดูแลเป็นอย่างดี รวมถึง เอสพีวีไอ ที่ส่งวิทยากรมาอบรม นักเรียนในการใช้เครื่อง และดูแลนักเรียนตลอดตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.3

และอีกเหตุผลคือ แอปเปิลมีหน่วยที่คอยดูแลเรื่องเกี่ยวการศึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งค่ายอื่นยังไม่มีชัดเจนขนาดนี้

สำหรับเครื่องนั้น ทางผู้ปกครองจะเป็นผู้จ่ายเอง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากการประชุมกันของผู้ปกครอง นักเรียน และทางโรงเรียน เพราะเล็งเห็นว่า ถ้านักเรียนมีเครื่องของตัวเอง เวลาเรียน และใช้งานที่บ้าน ก็จะเป็นเครื่องเดียวกัน ทำให้การเรียนและการใช้งานที่บ้านไม่ต่างกัน

ทำให้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องเทคนิคการใช้งาน

โดยเฉพาะเรื่องที่เครื่องของแอปเปิล ค่อนข้างที่จะมี “ไวรัส” น้อย จึงไม่ก่อปัญหาให้กับทางโรงเรียน

ถามว่า ผู้ปกครอง สามารถเลือกซื้อโน้ตบุ๊กแบรนด์อื่นให้ลูกได้หรือไม่

เรื่องนี้ มีคำตอบจากหนึ่งในผู้ปกครอง ที่มีลูกเรียนอยู่ที่โรงเรียนสงวนหญิง นายชัยยุทธ พลเสน ผู้ปกครองที่มีลูกแฝดเรียนอยู่ และกำลังมีลูกอีกคน เตรียมส่งเข้าเรียนที่นี่เช่นกัน

เท่ากับว่า ตอนนี้ต้องเสียเงินซื้อแมคบุ๊กให้ลูก 2 เครื่อง เพราะทั้งสองคนสอบเข้าโครงการอิงลิช โปรแกรม ได้

นายชัยยุทธ อธิบายว่า ตอนแรก เขาเองก็มีความสงสัยว่า ทำไมต้องใช้แมคบุ๊ก ที่มีราคาสูง ลูกสองคน ก็ปาไป 7 หมื่นกว่าบาทแล้ว

แต่เมื่อได้ให้ลูกๆ ใช้ดูแล้ว ก็พบถึงความแตกต่างระหว่างแมคบุ๊ก กับโน้ตบุ๊กทั่วไป

อย่างแรกคือ เรื่องของระบบปฏิบัติการ ที่มีแอพพลิเคชั่นรองรับการเรียนของเด็ก เพราะถ้าใช้โน้ตบุ๊กทั่วไป เราก็จะได้แต่ตัวเครื่อง ต้องไปหาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติม

ข้อสองคือ มีการอัพเดตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ปกครองไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องการใช้งานของลูกหลาน

ข้อสาม คือ เรื่องการป้องกันไวรัส เพราะเครื่องของแอปเปิล ปลอดภัยจากไวรัส ถ้ามีก็น้อยมาก ไม่เหมือนกับโน้ตบุ๊กทั่วไป

ข้อสี่ คือเรื่องของระยะเวลาในการใช้งาน ในราคา 37,000 บาทนั้น แต่มีอายุใช้งานได้ยาวนานไปถึงระดับมหาวิทยาลัย หรือราว 10 ปีเลยทีเดียว หารวันที่ใช้งานแล้วก็เหลือวันละไม่เท่าไหร่ ถ้าเป็นโน้ตบุ๊กทั่วๆ ไป มีอายุใช้งานเฉลี่ยราว 4 ปี

ข้อห้า คือ มีบริการหลังการขายที่ดี พอมีปัญหา ก็มีบริการดูแลให้

ข้อหก คือ เครื่องรองรับพัฒนาการการเรียนของเด็กๆ ได้ไปจนถึงเข้ามหาวิทยาลัยด้วยโปรแกรมต่างๆ ที่มีมาให้พร้อม ให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่

โดยได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องๆ ที่อยุู่ในโครงการอิงลิช โปรแกรม ที่โรงเรียนสงวนหญิงแห่งนี้ คือ ด.ญ.ไอย์รดา จิตรอารีรักษ์ ม.3/2 และ ด.ช.ธนภัทร ศรีไทย ม.3/1

น้องไอย์รดา บอกว่า ได้เริ่มใช้เครื่องใช้แมคบุ๊ก ตั้งแต่ตอน ป.6 เพราะใช้ไอแพดมาก่อนแล้ว และมองว่า ใช้งานง่ายเมื่อใช้คู่กับแมคบุ๊ก ก่อนที่จะเริ่มใช้จริงจังตอนมา ม.1 และใช้เยอะขึ้นจนถึง ม.3 ชอบที่ใช้งานง่าย เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กอื่นๆ และมองว่า สร้างสรรค์งานได้ง่าย มีฟีเจอร์สำหรับการทำงานร่วมกันได้ง่ายกว่า เช่น แอร์ดร็อป

เมื่อก่อนเคยใช้โน้ตบุ๊กแบรนด์อื่นๆ มาก่อน ตอนประถมต้น

ส่วนน้องธนภัทร บอกว่า เริ่มใช้แมคบุ๊กตั้งแต่ตอน ม.1 คือ แมคบุ๊กโปร ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่โรงเรียนสงวนหญิง ในโครงการอิงลิช โปรแกรม และที่ชื่นชอบ เพราะทำงานได้ลื่นไหล ตอบสนองไว พกพาได้สะดวก ไม่ค่อยมีไวรัส ในอดีตก็เคยใช้โน้ตบุ๊กทั่วไปมาตั้งแต่ ป.1 แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นเครื่องแมคหมดแล้ว

ตอนนี้ ใช้ไอแพด จดเลคเชอร์เอา ใช้อุปกรณ์ของแอปเปิลครบวงจรหมดทุกอย่าง เมื่อก่อนเคยใช้แอนดรอยด์ แต่ก็ย้ายมาเป็นไอโอเอส และรู้สึกชอบมากกว่า

โดยน้องทั้งสองคน ต่างเคยใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นวินโดวส์มาแล้วทั้งคู่ แต่มองว่า เครื่องของแอปเปิลนั้น “ใช้งานได้ง่ายกว่า และสร้างสรรค์ผลงานได้ง่ายกว่า” ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ง่ายกว่า

น้องไอย์รดา ฝากบอกถึงคนที่ยังคิดว่า การใช้เครื่องแมคบุ๊กเป้นเรื่องยาก ก็อยากจะให้ลองเปิดใจ ใช้แมคบุ๊ก จะรู้ว่า ใช้งานง่ายกว่า

เช่นเดียวกับน้องธนภัทร ที่มองว่า ตอนแรกในการเปลี่ยนมาใช้เครื่องแมคบุ๊ก อาจจะมีปัญหาเรื่องของคำสั่งการใช้งาน แต่ถ้าใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่า ใช้งานได้ง่ายกว่า

ทั้งนี้ อาจารย์สุพรรณชาติ กล่าวว่า ในการซื้อขายเครื่องนั้น ทางโรงเรียนสงวนหญิง จะเป็นเพียงสถานที่ที่ให้ผู้ปกครองกับทางผู้ขายเจอกันเพื่อเจรจากันเท่านั้น และไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นเฉพาะเด็กในโครงการอิงลิช โปรแกรม เท่านั้นที่สามารถซื้อได้ แต่เด็กนักเรียนปกติทั่วไป ก็สามารถซื้อเครื่องและได้รับบริการหลังการขายจากแอปเปิลเหมือนๆ กันหมด

โดยนอกจากเครื่องแมคบุ๊ก ที่นักเรียนจะใช้เรียนแล้ว ทางโรงเรียน ก็ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ พรินเตอร์ 3 มิติ รวมไปถึงอินเตอรเน็ตต่างๆ ที่มีบริการทั่วโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ได้มีอินเตอร์เน็ตใช้อยู่ตลอดเวลาด้วย

ที่สุดแล้ว นอกเหนือไปจากอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่เป็นส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มทักษะของนักเรียนแล้ว ก็ยังต้องประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ทั้งด้านสังคม และคุณธรรม ที่โรงเรียนได้มอบให้ ไม่เพียงเฉพาะนักเรียนในโครงการพิเศษ

แต่หมายถึง นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่จะต้องได้สิ่งดีๆ จากโรงเรียนไปเหมือนกัน เพราะนักเรียนทุกคน มีความสำคัญเท่ากันหมด

-- advertisement --