-- advertisement --

เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา จาก 82 ราย ผ่านคัดเลือกเข้ารอบชิง 28 ราย

รศ.ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผอ.สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดขับร้องเพลงกล่อมลูก4ภาคว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดประกวดเพลงกล่อมลูก4ภาค เป็นปีที่ 32ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของเพลงกล่อมลูก ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญและมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยเริ่มจัดการประกวดเมื่อปี 2531 และจัดต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมหนึ่งในงาน “มหิดล–วันแม่” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

การประกวดแยกเป็นระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ซึ่งปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด82ราย ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ28ราย ผลการประกวดรอบชิงชนะเลิศมีดังนี้

ระดับมัธยมศึกษา
ภาคเหนือ รางวัลชนะเลิศ น.ส.เกศณี ดีสมปรารถนา โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ รองชนะเลิศ นายโชคมงคล แก้วศรี โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง

ภาคกลาง รางวัลชนะเลิศ เด็กหญิงณิชา วรสกุล โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี รองชนะเลิศ น.ส.พิมพ์ชนก สำลี โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์ กทม.

ภาคอีสาน รางวัลชนะเลิศ น.ส.พรชิตา กุสุมาลย์ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด รองชนะเลิศ นายพลพรรธณ์ ผลาพฤกษ์ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคมจังหวัดร้อยเอ็ด

ภาคใต้ รางวัลชนะเลิศ น.ส.ญาณินท์ สัจมณี โรงเรียนก้างปลาวิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช รองชนะเลิศ นายธัชนนท์ ศักพันธ์ โรงเรียนมหาวชิราวุธจังหวัดสงขลา

ระดับอุดมศึกษา
ภาคเหนือ รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้ผ่านรอบชิงชนะเลิศ รองชนะเลิศ ไม่มีผู้ผ่านรอบชิงชนะเลิศ

ภาคกลาง รางวัลชนะเลิศ น.ส.ชนกนันท์ จันทร์สว่าง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม รองชนะเลิศ น.ส.ปนัดดา จินดา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

ภาคอีสาน รางวัลชนะเลิศ นายเจษฎาวุฒิ รักษากุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น รองชนะเลิศ นายเจริญทรัพย์ ทองกลม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ภาคใต้ รางวัลชนะเลิศ นายธนวิทย์ ศิริพงศ์ประพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา รองชนะเลิศ นายอภิชัย จันทร์เกษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา

ทั้งนี้ นอกจากการจัดประกวดเพลงกล่อมลูกแล้ว สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเพลงกล่อมลูก ส่วนหนึ่งมีการศึกษาค้นคว้าโดยนักวิจัยและนักศึกษาหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา สาขาวิชาวัฒนธรรมดนตรี โดยศึกษาเนื้อหา ภาษา ทำนองร้อง และการสืบทอดเพลงกล่อมลูกของแต่ละภาค ในปีนี้ ดร.จิติกานต์ จินารักษ์ นักวิชาการดนตรีไทยของสถาบัน ได้ทำโครงการวิจัยโดยใช้เพลงกล่อมลูกที่บันทึกจากผู้ประกวดมาศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาของเพลงทั้ง4ภาค โดยใช้แนวคิดคติชนวิทยา

ขณะที่ทางสถาบันฯ ได้รวบรวมเสียงผู้ชนะเลิศการประกวดทุกปี โดยทำเป็นซีดีเพื่อจัดส่งเผยแพร่ตามโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ ยังเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปได้คลิกเข้าไปกดฟังได้ในเว็บhttp://www.lullaby.lc.mahidol.ac.th

-- advertisement --