-- advertisement --

ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การออกกำลัง อย่างกระฉับกระเฉงว่องไวทำให้ความสมบูรณ์ทางสุขภาพกายและเกิดประโยชน์ในการลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจลงได้มาก นักวิจัยในเลสเตอร์ แคมบริจด์ และสถาบันเพื่อการดูแลสุขภาพและวิจัย (NIHR) ได้เฝ้าติดตามศึกษาวิจัยจากผู้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 88,000 คน

ผลการวิจัยพบว่า การออกกำลังอย่างจริงจังสม่ำเสมอ มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงเป็นโรคหัว และเส้นเลือดตีบตันได้มากผลการวิจัยยังพบด้วยว่าผู้ที่ออกกำลัยกายอย่างกระฉับกระเฉง ว่องไวทำให้สุขภาพกาย และสุขภาพหัวใจสมบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการพิมพ์ในวารสารโรคหัวใจในทวีปยุโรป วารสารได้อธิบายว่า ขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวในทุกรูปแบบทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกายและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อย่างมากการออกกำลังกายอย่างขะมักเขม้นหรือออกกำลังพอประมาณลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบต่างกันไม่มากนัก

การศึกษาวิจัยที่นำโดยศูนย์วิจัยศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (NIHR) ในเลสเตอร์แคมบริจด์ นักวิจัยได้วิเคราะห์จากผู้ที่ออกกำลังกาย#วัยกลางคนในประเทศอังกฤษ 88,412 คน ที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการติดเครื่องมือตรวจสอบการเคลื่อนไหวไว้ที่ข้อมือผู้เสนอรายงาน พบว่าจำนวนเวลาและปริมาณกิจกรรมออกกำลังกายโดยรวม มีส่วนสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

เครื่องติดตามพฤติกรรมออกกำลังกายได้แสดงผลว่าผู้ที่ออกกำลังกายปราดเปรียวว่องไวและแข็งแรงลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจลงได้ 20% มากกว่าคนที่ออกกำลังกายพอประมาณ ในขณะที่ผู้ออกกำลังกายกระฉับกระเฉงพอประมาณลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายอืดอาดเชื่องช้า 10%

โดยภาพรวมผู้ที่ออกกำลังว่องไวปราดเปรียวและผู้ที่ออกกำลังกายกระฉับกระเฉงพอประมาณลดการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ 14% และอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจลดลงได้ถึง 20% เมื่อออกกำลังกระฉับกระเฉงแข็งแรงมากขึ้นตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบคนออกกำลังกายสม่ำเสมอกับคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย คนที่มีการเคลื่อนไหวน้อย

หัวหน้าศูนย์วิจัยในภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์และชีววิทยา แนะนำว่า ผู้ใหญ่ในวัยกลางคน ควรออกกำลังกายด้วยการวิ่ง หรือ เดินเร็วก็ได้ ให้ถึง 150 นาทีในหนึ่งอาทิตย์ และสำหรับผู้ที่เข้มแข็งออกกำลังกายได้ปราดเปรียวว่องไวควรออกกำลังกายให้ ได้ 75 นาทีต่อการออกกำลังกายหนึ่งครั้ง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่สามารถสรุปได้ว่าการออกกำลังกายโดยการวิ่ง ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้พลังงานอัตราความเร็วแรงเท่าไหร่ในการเล่นกีฬาอื่นๆ ทำให้ร่างกายสมบูรณ์และสุขภาพใจสมบูรณ์

แต่อย่างไรก็ตาม ผลดีจากการใช้พลังงานในการออกกำลังกายทำให้ลดการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดตีบลงได้มาก ดร.แพตดี้เดมพ์ซี่ จากศูนย์บำบัดวิทยามหาวิทยาลัยแห่งแคมบริจด์ กล่าวว่า “จากการบันทึกที่ถูกต้องของเครื่องติดตามที่ประมวลผลกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างว่องไวหรือออกกำลังกายพอประมาณ ระยะเวลาของการออกกำลังกายและบันทึกการเคลื่อนไหวในภาพรวมไว้ได้เครื่องบันทึกกิจกรรมที่ติดไว้กับผู้เข้าร่วมโครงการช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการคนไหนออกกำลังกายอย่างหักโหมคนไหนออกกำลังพอประมาณ และเราพบว่า การออกกำลังพอประมาณช่วยให้ลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจลงได้มากเช่นกัน และมันเป็นประโยชน์มากเมื่อพบว่าผู้ที่ออกกำลังพอประมาณมีสารกระตุ้นให้ร่างกายปรับตัวให้ออกกำลังกายได้เร็วและแรงขึ้น

ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออกกำลังกายและกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ กล่าวว่า “เราพบว่าโดยภาพรวมแล้วการออกกำลังกายที่แข็งแรงปราดเปรียวว่องไว กับการออกกำลังกายพอประมาณเกิดประโยชน์เหมือนกัน แต่ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างเข้มข้น เข้มแข็งว่องไวจะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกายมากกว่า และเป็นมันเรื่องง่ายที่จะปรับตัวให้ดีขึ้น เพียงแต่เปลี่ยนนิสัยการเดินทอดน่อง เป็นการก้าวย่างอย่างฉับไวให้มากขึ้นตามลำดับไม่นานท่านจะเปลี่ยนนิสัยเป็นคนว่องไวในทุกๆ กิจกรรม”

น่าเสียดายที่งานวิจัยชิ้นนี้ เน้นไปที่ผู้ออกกำลังวัยกลางคน ไม่รู้ว่าจะเกิดมรรคผลกับคนวัยย่างเข้า75 ปีหรือไม่ แต่จากประสบการณ์ตรงผู้เขียนพบว่า เป็นไปตามคำแนะนำทุกประการเช่นคำแนะนำว่า คนที่ออกกำลังกายพอประมาณ หรือเชื่องช้า ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวให้ออกกำลังกายเร็วขึ้น และแข็งแรงขึ้นตามลำดับ เช่น เริ่มออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานวัน 10 กิโลเมตร ในอัตราความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และร่างกายค่อยๆ ปรับตัวให้เพิ่มขึ้นได้วันละหนึ่งกิโลเมตร แปดปีผ่านไป ร่างกายปรับตัวให้ปั่นได้เฉลี่ย50 กิโลเมตร ในอัตราความเร็วโดยเฉลี่ย 23-25 กิโลเมตร ของการปั่นแต่ละวัน

มันอาจเป็นอุปาทานหรือเป็นไปตามผลวิจัย เมื่อพบว่าสุขภาพกายและหัวใจแข็งแรงขึ้นเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ผู้เขียนเคยมีอาการวูบและหัวใจเต้นผิดปกติ แพทย์รพ.เอกชนแห่งหนึ่งวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจโตและหัวใจหยุดเต้นเป็นระยะๆ หลังนอนดูอาการอยู่ในรพ.สามวัน หมอแนะนำให้ผ่าตัดแล้วใส่เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ ตอนนั้นจิตตกไปพักหนึ่งเพราะไม่อยากให้มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่ร่างกาย ประกอบกับไม่มีเงินพอค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาล เลยตัดสินใจไม่ผ่าตัด และออกกำลังกายพอประมาณ จนเวลาผ่านมาสามสิบกว่าปีเกิดมีอาการวูบหลับกลางอากาศ ระหว่างปั่นจักรยานอีกครั้งหนึ่งเมื่อสองปีก่อน และไปพบแพทย์ที่ศูนย์เส้นเลือดและหัวใจในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า หมอทำการตรวจอย่างละเอียดทั้งตรวจคลื่นหัวใจ ทำแอ๊กโก้ เจาะเลือดและวิ่งสายพานถึงสองครั้ง ผลออกมาไม่พบว่าเป็นโรคหัวใจ หรือ เส้นเลือดหัวใจ แต่หมอก็ให้ยาโรคหัวใจและเปลี่ยนยาเบาหวาน ความดัน ให้ใหม่ทั้งหมด

เพื่อความแน่ใจว่าไม่เป็นโรคหัวใจก็พยายามอ่านเอกสารที่หมอแนบมากับใบสั่งยา พอจับใจความจากภาษาอังกฤษได้ว่า “ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเส้นเลือดหัวใจตีบตัน” และเมื่อได้อ่านรายงานวารสารการแพทย์ยุโรปที่บอกว่า“ออกกำลังกายพอประมาณ ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้” เลยเหมารวมเข้าข้างตัวเองว่าเราอาจกำลังจะเป็นโรคหัวใจ แต่เพราะการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานพอประมาณทำให้ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจลงได้

ขอย้ำอีกครั้งว่า รายงานชิ้นนี้วิจัยศึกษามาจากพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยกลางคน แต่หากคนวัยเจ็บสิบปีกว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลัง ก็มีแต่ได้กับได้ ไม่เสียหายใดๆ

สุทิน วรรณบวร

-- advertisement --