-- advertisement --
Xinhua

มหัศจรรย์ธรรมชาติ 200 ล้านปีก่อน แมลงรู้จักวางไข่ด้วยกลยุทธ์ซับซ้อน เข้าไปถึงเนื้อเยื่อพืช

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 สำนักข่าว ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเผยแพร่งานวิจัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ พบบนซากฟอสซิลพืชจากภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นแมลงที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 200 ล้านปีก่อนได้วางไข่บนใบไม้ และมีแมลงชนิดอื่น ๆ มากินไข่เหล่านี้

  • เศรษฐีจีนวูบหนักรอบ 24 ปี แห่หาลู่ทางย้ายประเทศ
  • หักคอ “เจ้าสัว”
  • รัสเซีย ยูเครน : รัสเซียระบุไม่ใช่เรื่องน่าขายหน้าของปูติน หลังถอนทหารจาก แคร์ซอน
ฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่ / Xinhua

ผลงานวิจัยนี้เผยแพร่ทางเว็บไซต์วารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อ 8 พ.ย. ว่า แมลงมีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อน

กระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช

ซากฟอสซิลไข่ของแมลงที่ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์) / Xinhua

เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) และทีมงาน ซึ่งวิจัยภาคสนามระยะยาว เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่น ๆ

แผนภาพแสดงไข่ของแมลงวางอยู่ในใบไม้ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ เมื่อราว 200 ล้านปีก่อน / Xinhua

เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ

การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อนเฝิงกล่าว

…….

-- advertisement --