-- advertisement --

มรภ.สงขลา เร่งพัฒนาไอทีเตรียมก้าวสู่ E-University เต็มรูปแบบ

มรภ.สงขลา เร่งพัฒนาไอทีเตรียมก้าวสู่ ‘E-University เต็มรูปแบบ

ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว ผอ.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ E-University ว่า มรภ.สงขลา ต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เต็มรูปแบบตามแผนพัฒนาภายใน 5 ปี ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก ที่เริ่มโครงการต่างๆ อาทิ การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายไร้สาย พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัย ซึ่งจะรองรับการเรียนการสอนแบบ Smart Classroom ที่อาจารย์และนักศึกษาจะได้ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ในห้องเรียนสามารถสอนแบบ Active leaningได้ โดยมี Toolsและแอพพลิเคชั่นมากมายให้นักศึกษาโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากเดิม รวมถึงในห้องเรียนยังสามารถบันทึกการสอนของอาจารย์ เพื่อทำเป็นบทเรียนในรูปแบบของ MOOCได้ด้วย และอีกโครงการเด่น คือ E- University Help Desk ที่จะมีนักศึกษาแกนนำด้านไอทีมาช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับ Digital literacy และช่วยผลักดันการใช้งานเทคโนโลยีทุกอย่างในมหาวิทยาลัยให้ง่ายขึ้น โดยนักศึกษากลุ่มนี้จะช่วยเหลือด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ แก่อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาได้ตลอดเวลา

ผศ.ดร.อำนาจ กล่าวต่อไปว่า สำนักวิทยบริการฯ ยังได้พัฒนาซอฟแวร์ เพื่อเติมเต็มระบบ MISให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ระบบเงินเดือน ระบบ E-MOU ระบบ E-Meeting และยังร่วมกับสํานักศิลปะและวัฒนธรรม จัดทำโครงการฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคใต้ ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Contents หรือแม้แต่โครงการฐานข้อมูลตามพระราโชบาย และโครงการตามพระราชดำริ ในรูปแบบดิจิทัล สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ และเป็นบทเรียนที่น่าศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทั่วไป ได้เห็นถึงวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ การศึกษา นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตได้

ผอ.สำนักวิทยบริการฯ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการจัดโครงการอบรมต่างๆ เช่น MOOC ให้กับอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ได้มากขึ้น รองรับการเรียนการสอนแบบใหม่ และต่อไปจะมีคอร์สสั้นๆ ในการประกอบอาชีพให้บุคลากรภายนอกหรือคนในชุมชนเข้ามาเรียนผ่านระบบ MOOC เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองรับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วย นอกจากนั้นยังมีโครงการอบรม Google For Education ให้กับบุคลากรและนักศึกษา เพื่อนำความรู้มาพัฒนางานที่ตนเองทำอยู่ในหน่วยงาน ขณะเดียวกันนักศึกษาสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ ตลอดจนมีโครงการอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ การทำ E-Book การใช้ซอฟแวร์สำหรับจัดการเอกสาร การใช้ซอฟแวร์ในการทำ Reference การใช้ซอฟแวร์ทำนายอนาคตและวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ซอฟแวร์ในการวิจัย เป็นต้น

-- advertisement --