-- advertisement --

casino (1)

99 คณาจารย์ แถลงห่วงใย-ข้อเสนอแนะ ต่อการผลักดันกาสิโนถูกกฎหมาย

99 คณาจารย์ นักวิชาการ ออกแถลงการณ์ความห่วงใย และข้อเสนอแนะ ต่อการผลักดันกาสิโนถูกกฎหมายของรัฐบาล

วันที่ 8 เม.ย.2567 คณาจารย์ นักวิชาการ ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยและเสนอแนะความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อเรื่องนี้ กรณีที่สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex)

เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการรอเสนอรายงานเพื่อขอมติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการในลำดับต่อไป

คณาจารย์ตามรายนามด้านท้าย ขอแสดงความห่วงใยและเสนอแนะความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้

  • ในทางเศรษฐศาสตร์ การพนันไม่ถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดผลผลิต เพราะเป็นเพียงการยักย้ายถ่ายโอนเงินจากกระเป๋าของผู้แพ้พนันไปสู่กระเป๋าของผู้ชนะพนัน ซึ่งในกรณีของกาสิโนนี้ผู้ชนะคือเจ้าของสถานกาสิโน การส่งเสริมให้มีกาสิโนจึงเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มทุนดูดซับเงินจากภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนชั้นกลาง ผู้ใช้แรงงาน ผู้มีรายได้น้อย และชนชั้นล่างของสังคม แม้คณะกรรมาธิการฯ จะเสนอให้เริ่มต้นที่ไซส์ XL ก่อน แต่รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ก็เปิดช่องให้สามารถมีแหล่งพนันที่มีขนาดเล็กรองลงมา ที่น่าจะเข้ามาเปิดใกล้ชุมชนมากขึ้น และลดกฎเกณฑ์ความเข้มงวดให้คนไทยได้เข้าเล่นง่ายขึ้น ถึงวันนั้นกาสิโนจะเป็นสิ่งถ่างขยายความเหลื่อมล้ำในสังคมให้มากขึ้น และซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐบาลพร่ำบอกมาตลอดว่ากำลังอยู่ในภาวะวิกฤต

แม้รัฐบาลอาจมองเห็นว่า การมี กาสิโน รวมถึงสถานบันเทิงครบวงจรอื่นๆ จะก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้และการหมุนเวียนของเงินตราในระบบเศรษฐกิจ แต่หากนับเฉพาะส่วนของกาสิโนที่คณะกรรมาธิการฯกล่าวว่ามีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของกิจการทั้งหมด

กิจการกาสิโน จึงอาจก่อให้เกิดผลดีต่างๆ ที่กล่าวมาได้ไม่มาก แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมที่รุนแรงมากกว่า การได้ไม่คุ้มเสียจึงเป็นข้อห่วงใยที่สำคัญ และกิจการอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสถานบันเทิงครบวงจร อาจจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่รัฐบาลพึงคาดหวังมากกว่า โดยอาจ
ไม่จำเป็นต้องมีกาสิโนก็ได้

  • ในทางการแพทย์ การอยู่ในสถานพนันเป็นเวลาต่อเนื่องครั้งละนาน ๆ กับกิจกรรมพนันที่รู้ผลแพ้-ชนะรวดเร็ว และเมื่อเสียก็เปิดโอกาสให้แก้มือได้ในทันทีทันใด จะมีผลต่อการกระตุ้นอารมณ์ให้เกิดการเล่นพนันจนเกินขีดความเหมาะสม และนำมาสู่การเล่นพนันจนเป็นปัญหาที่ขยายผลไปสู่การเป็นผู้เสพติดการพนัน ซึ่งเท่ากับการเป็นผู้ป่วยที่ยากต่อการบำบัดรักษาด้วยตนเอง และจำเป็นต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ที่ต่อเนื่องเป็นปีจึงจะหาย ผู้ป่วยจะตกอยู่ในภาวะที่ทุกข์ทรมานในการต่อสู้กับอาการอยากเล่นพนัน ที่พยามยามจะฝืนทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนได้เล่นพนันแม้จะไม่มีเงินก็ตาม และเกิดเป็นภาระต่อครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ประสบปัญหาตลอดช่วงของการรักษาเยียวยา กาสิโนจึงอาจเป็นสาเหตุของการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสุขภาพของสังคมโดยรวม
  • ในด้านการบังคับใช้กฎหมาย เป็นที่ทราบกันดีว่ากิจกรรมการพนันสามารถถูกใช้เป็นช่องทางการฟอกเงินของธุรกิจผิดกฎหมาย รวมทั้งเป็นช่องทางทำมาหากินของเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่น สถานกาสิโนจึงอาจโยงใยกับการกระทำความผิด การฝ่าฝืนกฎหมาย และการประพฤติมิชอบได้มากมาย โดยเฉพาะในประเทศที่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ความหวังที่ว่าการนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดินจะ
    ทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายและการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐมีน้อยลงจึงอาจไม่เป็นจริง และกลับกลายเป็นการสร้างโอกาสให้เหล่าผู้กระทำความผิดมีช่องทางใช้ประโยชน์ที่มากขึ้น ตราบใดที่หน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายยังอ่อนแอและ ไม่ใสสะอาด คงเป็นการยากที่จะให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตได้หากมีแหล่งอบายมุขขนาดใหญ่มาอยู่ใกล้ชุมชนและบุคคลในครอบครัวของตนมากขึ้น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวอ้างมา จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

  • รัฐบาลควรเร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น โดยการปฏิรูปองค์กรตำรวจ และการปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง เพราะนี่คือด่านท้าทายที่สำคัญหากรัฐบาลมีแนวทางจะเปลี่ยนกิจการผิดกฎหมายต่าง ๆ ให้มาอยู่บนดินได้ทั้งหมด
  • รัฐบาลควรมีข้อเสนอที่ชัดเจนต่อสังคมถึงสิ่งที่ตนต้องการผลักดัน ทั้งขนาดและจำนวนของกาสิโน พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย และอื่น ๆ และทำการศึกษาอย่างรอบด้านให้ครบทุกมิติ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การศึกษาผลกระทบทางสังคม การวางมาตรการและกลไกในการกำกับดูแลผู้ประกอบการกาสิโนอย่างละเอียด รอบคอบ และรัดกุม การกำหนดมาตรการและกลไกในการป้องกันปัญหาและผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยไม่เร่งรัดหรือเข้าแทรกแซงกระบวนการศึกษา และให้มีการเผยแพร่ผลการศึกษาในทุกด้านอย่างเปิดเผย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาทุกเรื่องที่กล่าวมาล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย ฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การมีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนตั้งแต่แรก

  • เมื่อทำการศึกษาครบถ้วนทุกมิติ รัฐบาลควรนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการประชามติ เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนทั้งประเทศ โดยสนับสนุนการรณรงค์ให้ความรู้ของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายที่เห็นต่าง ด้วยความตระหนักว่าการมีสถานกาสิโนหรือบ่อนพนันถูกกฎหมายเป็นแหล่งรวมอบายมุขที่มีความสลับซับซ้อน จึงมิอาจใช้วิธีรับฟังความเห็นจากประชาชนเพียงบางส่วนได้

การหวังพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยธุรกิจอบายมุข เป็นแนวนโยบายที่พึงตรึกตรองอย่างรอบคอบให้กว้างไกลกว่าการคำนึงถึงเพียงมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของความถูกต้องและชอบธรรมทางสังคมอย่างยากจะถอดถอนให้กลับมาดังเดิมได้ รัฐบาลจึงพึงสังวรณ์และตัดสินใจบนฐานความเชื่อมั่นที่มากพอ

จึงเรียนมาเพื่อแสดงความห่วงใยและเสนอแนะความเห็นประกอบการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อความสงบสุขของประเทศต่อไป

รายชื่อคณาจารย์ และนักวิชาการ ร่วมแสดงความห่วงใย

  • รศ.แล ดิลกวิทยารัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  • ศ.สุภา เพ่งพิศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แพทย์หญิง มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  • ผศ.ดร.ชิดตะวัน ชนะกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.จุมพล รอดคำดี นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
  • ผศ ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • ดร.ธีรารัตน์ วงศ์ธนะเอนก นักวิชาการอิสระด้านนิเทศศาสตร์
  • ดร.อัญญมณี บุญซื่อ นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาเด็ก
  • ดร.นิตินันท์ พันทวี นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
  • ผศ.ดร.ณัชพล จิตตรัตน์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.มานะ ลักษมีอรุโณทัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.จรินทร์ สารทอง คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง
  • ผศ.ดร นฤมล จันทร์มา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ผศ.ภัทรพร แจ่มใส โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รศ.ดร.ณัฐนันท์ ศิริเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ดร.ภาคภูมิ ปุผมาศ นักวิชาการอิสระด้านสังคม
  • ผศ.ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดร.เอกราช ดีนาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ผศ.ดร.ไพฑูรย์ สอนทน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ผศ.ดร.จิตรา ชนะกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ทพญ.ณิรญา ก้อนสมบัติ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ดร.ซู้หงษ์ ดีเสมอ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทพ.ประเสริฐ จิรสรรพคุณากร ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
  • พันตรีหญิงบุศรินทร์ คงอุทิพย์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
  • ผศ.ดร.สุเทพ เดชะชีพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • รศ.ทญ.ดร.สุทธาทิพย์ กมลมาตยากุล คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ผศ.เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราขภัฏนครราชสีมา
  • ผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ผศ.เจริญเนตร แสงดวงแข คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • นางอรทัย อนุรักษ์วัฒนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • อาจารย์ชิดชนก สิทธารศักดิ์ สำนักพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • รศ.ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ผศ. ยุทธนา บุญอาชาทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พญ.วริษา อุทาโย นักวิชาการอิสระ
  • นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป นักวิชาการอิสระ นักเขียนและนักเล่านิทานเพื่อเด็ก
  • ผศ.พ.ต.หญิงดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ผศ.ดร.นิภากร กำจรเมนุกูล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พญ.ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา นักวิชาการอิสระ
  • ดร.ปิยะพล รอดคำดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นพ.พิชญะ ตันทะอธิพานิช นักวิชาการอิสระ
  • รศ. ดร.ณัฐวิภา สินสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อาจารย์เมธาพร มูสิกะปาละ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นางวรุณพันธ์ จริยาเอกภาส นักวิชาการอิสระ
  • รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดร.ภัทราพร เจริญรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.ดร.วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อาจารย์เปรมินทร์ หงษ์โต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ทพญ.จารุวรรณ ตันกุรานันท์ ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ดร.ณัชญากัญจน์ รัตนวรกานต์ ประธานสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ผศ.สิริวิมล เทพหัสดิน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นางปัทมา จรทะผา นักวิชาการอิสระ
  • ดร.รจนา พึ่งสุข คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.ดร.สุพักตรา สุทธสุภา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นายอาลาวีย์ ฮะซานี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย
  • ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เครือนวน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พ.อ.หญิง วโรชา สุทธิรักษ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
  • ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย เพชรช่วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • อ.ปิยณัท วงศ์ยอด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ ที่ปรึกษาอธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี
  • ดร.ชุติมันต์ เหลืองทองคำ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ดร.ณิชา ฉิมทองดี รองผู้อำนวยการ โรงเรียนรัตนศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
  • นางสาวศุภานัน เจนธีรวงศ์ นายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ฯ
  • นส.สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อาจารย์วนิทรา ตะเภาทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.มุจรินทร์ อิทธิพงษ์ นักวิชาการอิสระ
  • นายณัฐพงค์ แย้มเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นางสุภัทรียา จิตรกร นักวิชาการอิสระ
  • นายสุรพงษ์ กองจันทึก นักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน
  • ผศ.ดร.ปิยะดา จุลวรรณา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาจารย์ฒวีพร โตวนิช หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • อาจารย์ พิทักษ์พงศ์ พงษ์พิพัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.เบญนภา พัฒนาพิภัทร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อาจารย์สุธิดา ชิโนดม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาจารย์พสุนาท สร้อยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รศ.ดร.นพ.กลวิชย์ ตรองตระกูล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์มนัสกานต์ อินทร์สังข์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นายอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
  • ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นส.ภูษา ศรีวิลาส นักวิชาการอิสระ
  • รศ.ธราดล เก่งการพานิช นักวิชาการอิสระด้านอนามัยชุมชน
  • ผศ.ดร.ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผศ.ดร.วรรณภา นาราเวช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์วัฒนา เจริญชัยนพกุล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พญ.นัชนันท์ ปุณณรัตนกุล นักวิชาการอิสระ
  • ผศ.ดร.อังสนา บุญธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.ดร.ปัณฑิตา สุขุมาลย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

…………………………………………………..

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : 99 คณาจารย์ แถลงห่วงใย-ข้อเสนอแนะ ต่อการผลักดันกาสิโนถูกกฎหมาย

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.khaosod.co.th

-- advertisement --