-- advertisement --

ทุกวันจะมีข่าวผู้เสียชีวิตที่บ้าน เพราะต้องรอเตียงในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันจำนวน ‘ผู้ป่วยโควิด 19’ รายใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ‘วิกฤตเตียงเต็ม’ ห้องไอซียูแน่นจนขยายไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ ได้ปรับปรุง แนวทางในการดูแลรักษา ‘ผู้ป่วยโควิด 19′ อีกครั้ง (หลังจากมีการปรับปรุงมาแล้วหลายรอบ)  และต่อให้เป็นแนวทางการ ‘รักษาโควิด 19’ เวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข แต่มีหลายส่วนที่ประชาชนควรรับทราบ 

 ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ได้สรุปรวบรวมมาให้ดังนี้

  • อาการที่จะได้ตรวจหาเชื้อเข้าสู่การรักษา

มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5°C ขึ้นไป

ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย

หายใจลําบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว

มีประวัติเสี่ยง ในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

– เดินทางไปหรือมาจากหรืออยู่อาศัยในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 1 เดือน ย้อนหลังนับจากวันที่ออกจากพื้นที่นั้น

– สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด 19

– ไปในสถานที่ชุมนุมชนหรือสถานที่เสี่ยง 

– ทำงานในสถานกักกันโรค

– ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่แพทย์สงสัยว่าเป็นโควิด

– เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่อาการและแพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโควิด 19

– พบผู้มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ 5 ราย ขึ้นไป

– ผู้สัมผัสเสี่ยงสงู ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ

  • 4 กลุ่มอาการที่ตามระดับความรุนแรง

1.ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี

ข้อแนะนํา:

-ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือในสถานที่รัฐ จัดให้อย่างน้อย 14 วัน

– ให้ยาฟ้าทะลายโจร ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง

ข้อแนะนำ:

-พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เร็วที่สุด

-หากตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จําเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

-ให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้ 14 วัน

-หากเข้าเกณฑ์รักษาแบบ home isolationหรือ community isolation ก็สามารถให้การรักษาได้ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง

3.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่ที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย/มีปัจจัยเสี่ยง คือ

-กลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป  และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง. โรคอ้วน(น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.) โรคมะเร็ง และ โรคเบาหวาน รวมถึงตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำา และ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.

ข้อแนะนำ:

-ให้รักษาในโรงพยาบาลโดยให้อยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย14วันนับจากวันที่เริ่มมี อาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์  โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุดให้ยานาน5วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับอาการและความเหมาะสมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

– พิจารณาให้corticosteroidร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์  ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง

4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

ข้อแนะนำ:

-ให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์  เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก

-อาจพิจารณาให้lopinavir/ritonavir5-10วันร่วมด้วย(ตามดุลยพินิจของแพทย์)

  • วิธีดูแล’ผู้ป่วยโควิด 19′ อายุน้อยกว่า 15 ปี 

มีการให้ใช้ยาในการรักษาจําเพาะดังนี้

1.กลุ่มไม่มีอาการ

-ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2.กลุ่มมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดบวม ไม่มีปัจจัยเสี่ย

-ให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 วัน

3.กลุ่มที่อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดบวมเล็กน้อย และอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีภาวะเสี่ยงอื่น ๆ เหมือนเกณฑ์ในผู้ใหญ่

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

4.กลุ่มที่มีอาการปอดบวม หายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกําหนดอายุ

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน (อาจพิจารณาให้ร่วมกับ lopinavir/ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน)

  • การใช้ยาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

การใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ในหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิด teratogenic effect

ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเริ่มยานี้ ให้พิจารณาเริ่ม ยาต้านไวรัส ตามข้อบ่งชี้เช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่นๆ

หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาศที่ 1ที่อาการไม่รุนแรงไม่มีปอดอักเสบให้รักษาตามอาการ

หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ที่มีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัย

หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 ถ้าแพทย์พิจารณาใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง โดยเป็นการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ แต่ถ้ามีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir

การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกแบบ vertical transmission นั้น พบประมาณร้อยละ 2-5 และส่วนใหญ่ของทารกไม่เกิดอาการรุนแรง การรักษาจึงเน้นการรักษาแม่เป็นหลัก

-การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อบ่งชี้ในการพิจารณาให้ remdesivir กรณีหญิงตั้งครรภ์ที่มีปอดอักเสบ

  • ใช้ ‘ยาฟ้าทะลายโจร’ในการรักษาโควิด 19

อย่างที่ทราบกันดีว่า ยาฟ้าทะลายโจร อาจมีฤทธิ์ anti-SARS-CoV-2, anti-inflammatory และลดอาการไข้หวัด เจ็บคอ 

-มีการพิจารณาใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ไม่มีปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิด โควิด 19 รุนแรง และไม่มีข้อห้ามต่อการใช้ ฟ้าทะลายโจร

-ข้อมูลจากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าอาจช่วยลดโอกาสการดําเนินโรคไปเป็นปอดอักเสบได้ ขณะนี้กําลังมีการศึกษาเพิ่มเติม

-ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาผลการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่น และไม่แนะนําให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 4แนวทาง รักษา ‘ผู้ป่วยโควิด-19’ และชนิดของยาที่ใช้รักษา

                    เช็ค 4 หลักเกณฑ์ กทม.แยกผู้ป่วย ‘โควิด-19’ รักษาตัวที่บ้าน

                    สธ.ปรับแผนใช้ ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ใช้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มเสี่ยง                  

  • ส่งต่อ ‘ผู้ป่วยโควิด 19’ ต้องปฎิบัติตามนี้

 1.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่มีอาการ

-ให้แยกกักที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้

2.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ โรคร่วมสําคัญ

-ให้แยกกักที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้ หรือ โรงพยาบาล

3.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย มีปัจจัยเสี่ยง/ โรคร่วมสําคัญ

-ให้ส่งไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้

4.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการปอดอักเสบ หรือ มี SpO2 ที่ room air น้อยกว่า 96%

– ให้ส่งไปยังโรงพยาบาล

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินกว่าที่โรงพยาบาลต้นทางจะดูแลได้ ควรส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายที่ศักยภาพสูงกว่า นั้น โรงพยาบาลต้นทาง ควรประสานการส่งต่อผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก

  • กักตัว 14 วันหลังรักษาโควิดหาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ต้องปฎิบัติดังต่อไปนี้

1.งดออกจากบ้านไปยังชุมชนทุกกรณี ยกเว้นการเดินทางไปโรงพยาบาลโดยการนัดหมายและการจัดการโดยโรงพยาบาล

2.ให้แยกห้องนอนจากผู้อื่น

– ถ้าไม่มีห้องนอนแยกให้นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย3-5เมตร

– ต้องเป็นห้องที่เปิดให้อากาศระบายได้ดี

-ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ด้านใต้ลม หากไม่สามารถจัดได้อาจจะต้องให้ผู้ติดเชื้อพักที่ศูนย์แยกโรคชุมชน

จนพ้นระยะการแยกโรค

3.ถ้าแยกห้องน้ำได้ควรแยก

-ถ้าแยกไม่ได้ให้เช็ดพื้นผิวที่มีการสัมผัสด้วยน้ำยาทําความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หลังการใช้ทุกครั้ง

4.การดูแลสุขอนามัยให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น

5.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจํา โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะ หรืออุจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์70%

6.ไม่รับประทานอาหารร่วมวงกับผู้อื่น

7.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะไม่เกิน 2 เมตร การพบปะกันให้สวมหน้ากากตลอดเวลา

8.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอรับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

9.หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบหายใจไม่สะดวก เบื่ออาหารให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมา สถานพยาบาลแนะนําให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา

10.หลังจากครบกำหนดการกักตัวตามระยะเวลานี้แล้วสามารถประกอบกิจกรรมทางสังคมและทํางานได้ตามปกติตาม

-- advertisement --